วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Immune health piece in the Trib: same old boost, no balance.




Immune health piece in the Trib: same old boost, no balance.

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การลงทุนในธุรกิจร้านค้าปลีกเฉพาะทาง



ภาพจากอินเตอร์เน็ต ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


การลงุทนในธุรกิจศูนย์เฉพาะทาง
ด้านการดูแลสุขภาพ ความงาม

คุณคิดว่า การลงทุนธุรกิจศูนย์ความงามโดยทั่วไป ใช้งบประมาณเท่าไร?
อย่างน้อย 1ล้านบาท ครับ (ไม่รวมอาคาร)

เงินจำนวนมากจะเป็นค่าใช้จ่าย ด้านค่าเฟรนไซต์ ด้านค่าที่ปรึกษารายเดือน ค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญที่บริษัทแม่เป็นผู้กำหนด ค่าตกแต่ง(บริษัทแม่เป็นผู้กำหนด) และค่าสั่งซื้อสินค้าขั้นต่ำ

แล้วเมื่อไรจะคืนทุน สำหรับใน กทม. ROI=24เดือน ครับ เพราะกทม. มีประชากร10ล้านคน และ ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางระดับเงินเดือน20,000 บาท

แต่ถ้าในเมืองอื่นๆ เจ้าของจะมาเปิดดำเนินการเอง เพราะไม่คุ้มการลงทุน ค่าROIไม่มี เนื่องจากระดับเงินเดือนในเมืองโดยทั่วไปคือ 7,000 บาท เท่านั้น

ถ้าลงทุนธุรกิจศูนย์ความงาม เริ่มต้นที่ 100,000 บาท จะดีกว่าไหม
โดยค่าสั่งซื้อสินค้าครั้งแรกกำหนดไว้ที่60,000 บาทเท่านั้น เงินลงทุนที่เหลือไว้ตกแต่งจัดพื้นที่เป็นมินิช้อป และ สั่งทำป้ายประชาสัมพันธ์

เพราะบริษัทเข้าใจในพื้นที่เมืองต่างๆทั่วประเทศ และ ต้องการให้เกิดธุรกิจได้อย่างยั่งยืน จึงตัดค่าใช้จ่ายต่างๆออกไป เพราะหากร้านค้า(ศูนย์ฯ) อยู่ได้ในทุกเมืองทั่วประเทศ ย่อมส่งผลดีกลับมายังบริษัทด้วยเช่นกัน


วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทางรอดค้าปลีก ตอนที่4 จุดยุทธศาสตร์


ทางรอดธุรกิจร้านค้าปลีกในปัจจุบัน

บทที่สี่ จุดยุทธศาสตร์

ผู้เขียนขอสรุปโครงสร้างต้าปลีกสมัยใหม่ เป็นแผนภาพ เพื่อความเข้าใจง่ายๆ
จาก แผนภาพนี้จะเห็นได้ว่า องค์รวมของการทำการตลาดสมัยใหม่ โดยจุดที่มีความสำคัญที่สุดก็คือ การทำการตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการ และร้านค้า(คู่ค้า)สามารถขายสินค้าได้เกิดการขายสินค้า ณ จุดขาย (POP) ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น นักการตลาดก็ต้องสร้างสมดุลของจุดสัมผัสทั้งสามจุดให้มีความสอดคล้อง เชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกัน

จุดสัมผัสที่ผมกล่าวถึงสามจุดก็คือ1. Shop Interface คือการทำการตลาดหระหว่างร้านค้าที่ขายสินค้าและบริการให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ซึ่งเป็นที่มาของการตลาดค้าปลีกหรือ Retail Marketing2. Company Interface คือ การร่วมมือกันทำการตลาดระหว่างร้านค้าหรือช่องทางการจัดจำหน่ายกับโรงงานผู้ ผลิตสินค้า ซึ่งจุดสัมผัสนี้เป็นที่มาของการตลาดพาณิชย์ หรือ Trade Marketing3. Consumer Interface คือการทำการตลาดของโรงงานหรือผู้ผลิตสินค้ากับผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ซึ่งก็เป็นเรื่องของการทำการตลาดผู้บริโภค หรือ Consumer Marketing

การค้าปลีก (Retailing) คือ การขายสินค้าให้กับผู้บริโภคคนสุดท้าย(End User/ Ultimate Consumer) ซึ่งเป็นการซื้อเพื่อไปบริโภคด้วยตนเองหรือในครอบครัว ในด้านช่องทางการกระจายสินค้า การค้าปลีก เป็นที่ซึ่งลูกค้าจะได้พบกับสินค้าผ่านทางช่องทางการค้าปลีก ทำให้มีการแลกเปลี่ยนขึ้น โรงงานที่ผลิตสินค้า และผู้ขายสินค้าสามารถเข้าถึงเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้นผ่านการทำการตลาด ณ จุดขาย (Point-of-Purchase, POP) ที่ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ร้านสะดวกซื้อที่ทันสมัย หรือที่เรียกกันว่า โมเดิร์นเทรด (Modern Trade) ดังนั้น Trade Marketing จึงเป็นการทำการตลาดในร้านค้าทันสมัยหรือโมเดิร์นเทรดนั่นเอง

คำถามคือทำไมโรงงานผู้ผลิตสินค้าต้องร่วมมือกับโมเดิร์นเทรดด้วย สาเหตุก็เพราะการขยายตัวอย่างมโหฬารของโมเดิร์นเทรดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ จำนวนสาขา ปริมาณการซื้อสินค้าในแต่ละครั้ง และเทคโนโลยีด้านการค้าที่พัฒนาไปมากนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่เปลี่ยนพฤติกรรม การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค เช่นในร้านโมเดิร์นเทรดขนาดใหญ่นั้นอาจมีพื้นที่ขายกว้างขวางเท่าๆ กับสนามฟุตบอลหนึ่งหรือสองสนามรวมกัน ทำให้ร้านค้าเองต้องการ สินค้าในปริมาณมากเพื่อที่จะเติมพื้นที่วางบนชั้นวางของให้เต็ม นอกจากนี้ ร้านค้าและผู้ผลิตสินค้ายังต้องคิดพิจารณาถึงการรับและการจัดส่งสินค้าให้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การกระจายสินค้าไปยังสาขาต่างๆ ของตนเอง ซึ่งมุมมองนี้เป็นเรื่องของการบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)

เมื่อเราเข้าใจโครงสร้างค้าปลีกแล้ว เราจะถึงบางอ้อเลยว่า ทำไมของแพงขึ้นทุกวัน ก็เพราะแต่ละส่วนต่างมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์นั่นเอง

ดังนั้นถ้าเราลด “วงกลม” ในภาพลง เพื่อให้เกิดการตลาดทางตรง จากผู้ผลิต ผ่านมาที่เรา สู่ผู้บริโภคเลยละ เราและผู้บริโภคจะได้สินค้าที่คุณภาพดีขึ้น ในราคาไม่แพงใช่หรือไม่

การค้าปลีกแบบมีร้านค้า แยกประเภทได้ดังนี้

1 Specialty stores หรือร้านค้าปลีกเฉพาะอย่าง เช่น Power buy, วุฒิ-ศักดิ์, บอดี้เชฟ

2 Department stores หรือ ห้างสรรพสินค้า เช่น Zen
3 Convenience stores หรือ ร้านสะดวกซื้อ เช่น 711
4 Supermarket หรือ ซุปเปอร์มาร์เก็ต เช่น Tops
5 Super Center หรือ Superstores หรือ Hypermarts เช่น Tesco Lotus

6 Category Killers เป็นการพัฒนามาจาก Specialty Stores จะมีสินค้าขายเพียงสายผลิตภัณฑ์เดียวแต่มีครบทุกประเภท ทุกตรายี่ห้อ เช่น Export Outlet

การค้าปลีกแบบไม่มีร้านค้า
1 Direct Marketing
2 Network Marketing

ในบทนี้ผมจะพูดเฉพาะจุยุทธศาสตร์ที่เมื่อเรายึดได้ จะต่อกรกับทุนข้ามชาติได้ นั่นคือ การเป็นร้านค้าปลีกเฉพาะทางค้าปลีกแบบมีหน้าร้าน ทุนข้ามชาติได้เข้ามายึดตลาดส่วนใหญ่ของประเทศไปเรียบร้อยแล้ว ห้างสรรพสินค้าที่เคยรุ่งโรจน์,,วันนี้ร่วงโรย เพราะไม่สามารถอัดเม็ดเงินสร้างโปรโมชั่นมาแข่งกับทุนข้ามชาติได้ วันนี้ยังเป็นยุคของ “ร้านขายของขำยามชองช้ำ” แต่ถ้าได้อ่านบทความมาตั้งแต่ต้น จะเห็นแสงสว่างทางรอดของค้าปลีกคนไทย ด้วยการนำความเข้าใจธรรมชาติในโครงสร้างค้าปลีกสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ นั่นคือ การร่วมมือกัน ระหว่างผู้ผลิตและเครือข่ายเพื่อนผู้ค้าปลีก ตัดพ่อค้าคนกลาง ปรับการโฆษณาเปลี่ยนมาสู่การสื่อสารแบบปากต่อปาก ใช้ IMC ได้แก่ จัดการสาธิต, จัดแสดงตัวอย่างผลสำเร็จจากการใช้จริง โดยดำเนินการที่ ร้านค้าปลีกเฉพาะทาง ในเครือข่ายของเรา

ทั้ง4บทที่เขียนขึ้นมาจากผลงานการวิเคราะห์ทางการตลาด ซึ่งได้มาสอดรับกับนโยบายของ เอเชี่ยนไลฟ์ ทำให้ผู้เขียนมั่นใจใน เอเชี่ยนไลฟ์ และนำมาสู่ธุรกิจค้าปลีก BIM CENTER “ศูนย์ดูแลสุขภาพและความงาม บาย เอเชี่ยนไลฟ์”

หมายเหตุ ร้านค้าปลีกเฉพาะทาง ที่โตวันโตคืนมาตลอด 10ปี ได้แก่ กลุ่มอาหาร และ กลุ่มความงาม เช่น วุฒิ-ศักดิ์, บอดี้เชฟ, เอ็มเคสุกี้ กรณี “วุฒิ-ศักดิ์” ไม่สนใจเปิดในศูนย์การค้า นิยมในย่านชุมชน และ สถานีรถไฟฟ้า ดูจะใกล้เคียงแนวทางของ “BIM CENTER”


BIM CENTER ขายอะไร บริการอะไร ต่อตอนหน้านะครับ

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทางรอดค้าปลีก ตอนที่3 จุดเด่น



ทางรอดธุรกิจร้านค้าปลีกในปัจจุบัน
บทที่สาม จุดเด่น


เดิมที่ตั้งใจจะเข้าเรื่องร้านค้าเฉพาะทางกันเลย แต่มานั่งนึกดู น่าจะอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “มิติด้านต่างๆ” ที่เป็นจุดเด่น ก่อนตัดสินใจทำธุรกิจ หรือ เปิดร้าน

มิติที่นำมากล่าวในบทนี้ เลือกด้านหลักๆมาคุยกันเลย ได้แก่

มิติด้านช่องทางการจำหน่าย
เคยมีนักวิชาการเสนอแนวทางรอดของค้าปลีกไทย หนึ่งในประเด็นวันนั้นก็คือ การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ โดยควรมีการรวมกลุ่มกันของผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม และผู้ค้าส่ง เป็นแนวคิดที่ดีในการหาทางรอดของค้าปลีกแต่ทำได้ยากในทางปฏิบัติ เพราะ ผู้ค้าส่งไม่ใช่เจ้าของสินค้า ผู้ค้าส่งจึงมีอำนาจต่อรองด้านสั่งซื้อด้วยจำนวนมากเท่านั้น วิธีการนี้แม้รวมกลุ่มกันได้ก็อย่างที่จะลดต้นทุนเพื่อแข่งกับค้าปลีกข้ามชาติ

จริงอยู่การสร้างความร่วมมือเป็นปัจจัยสำคัญที่แท้จริง แต่เราต้องได้รับความร่วมมือตั้งแต่ ผู้ผลิต,เจ้าของสินค้า เป็นจุดเริ่มต้นเสียก่อน จากนั้นนำกลยุทธ์แบบ Multi-approach มาใช้สร้างร้านค้า และ เครือข่ายการขาย เพื่อเป็นเสมือนการสร้างโครงข่ายใยแมงมุม เพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้มากหนึ่งช่องทาง และหลายแนวทาง ทำให้สามารถสร้างยอดขายได้จำนวนมาก ส่งผลให้ไม่มีระบบพ่อค้าคนกลาง ที่สำคัญลดต้นทุนสินค้าอย่างยั่งยืน
ดังนั้น ความร่วมมือจึงต้องมาจาก3ประสาน ได้แก่ ผู้ผลิต(เจ้าของสินค้า) บริษัทการตลาด(ผู้สร้างใยแมงมุม) และ เรา (ผู้ขาย ทั้งแบบขายผ่านหน้าร้าน และ ขายแบบไม่มีหน้าร้าน)

บทความที่แล้วได้กล่าวถึงที่มา เพื่อให้เราๆท่านๆได้เข้าใจอย่างถูกต้องว่า เมื่อมีกลุ่มเจ้าของสินค้า (ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วย) ร่วมมือกับ จุดเด่นในมิติด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ที่มีนักการตลาดผู้นำด้านกลยุทธ์แบบ Multi-approach มาสร้างกลยุทธ์ที่สอดคล้องกันเป็นธรรมชาติ (ใยแมงมุม) โอกาสทองของเราจึงบังเกิด ในมิตินี้


มิติด้านผู้บริโภค
การสื่อสารเพื่อการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้บริโภค เข้าใจในสินค้า และ บริการ ต้องอาศัยขบวนการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ทั้งยังต้องใช้งบประมาณเป็นหลักร้อยล้านบาทในการนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งประเทศ รับรู้และจดจำตราสินค้า และนี่คือหลักการพื้นฐานของระบบทุน “การโฆษณา(ชวนเชื่อ)” ถ้ามีนักการตลาดกล้าฉีกกฎดั่งเดิม นำหลักการธรรมชาติของคู่ค้า และ การกระจายสินค้าแบบขายตรงมาร่วมกัน สร้างเป็นการสื่อสารแบบปากต่อปาก น่าจะทำให้สินค้ารู้จักได้ในเวลาอันรวดเร็ว ที่สำคัญ น่าสนุกและประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ใครละ..จะกล้าทำ กลยุทธ์แบบ Multi-approach โดยสอดคล้องกันเป็นธรรมชาติ(ใยแมงมุม)

นักการตลาดส่วนใหญ่จะจับช่องทางการจัดจำหน่ายแบบช่องทางเดียว แต่อาจจะหลายคนกลาง หรือ บางท่านจับแต่ขายตรง แล้วทำไม?ไม่ทำทุกแบบที่กล่าวมาข้างต้นพร้อมๆกันละ คำตอบคือ “ไม่กล้า” ผู้เขียนได้เคยพบผู้บริหารของเอเชี่ยนไลฟ์ แล้วพบความจริงว่า เอเชี่ยนไลฟ์ทำการตลาดแบบนี้ และทำโดยเข้าใจธรรมชาติของธุรกิจ และ ความรักระหว่างทีมงาน จึงไม่แปลกใจที่เราจะไม่เห็นโฆษณาของสินค้าตัวนี้ แต่ยอดขายติดอันดับดาวรุ่ง เราอาจจะเคยเห็นข่าวผลงานวิจัยบ่อยๆ แต่เราไม่เคยเห็นตัวสินค้าทางโทรทัศน์เลย (แต่ขายได้กระฉูดด้วยใยแมงมุม)

พลังของการตลาดแบบปากต่อปากนั้น น่ากลัวมาก ล่าสุดทำตลาดหุ้นไทยติดลบเป็นประวัติการณ์และต้องมีการออกหมายจับผู้เผยแพร่ข่าวทางอินเตอร์เน็ตกันแล้ว ท่านๆคงจำได้
ดังนั้นวิธีการเข้าถึงผู้บริโภคแบบนี้จึง โอเค ครับพี่น้องครับ

มิติสุดท้ายที่ผู้เขียนถือว่าเป็นหัวใจเลย คือ มิติด้านผลิตภัณฑ์ (กล่าวง่ายๆ คือ สินค้าที่เราจะขาย ขายอะไร ขายได้ง่ายหรือเปล่า ของดีจริงหรือเปล่า มีมาตรฐานไหม เป็นต้น)

มิติด้านผลิตภัณฑ์และองค์กร
จากข้อมูลในมิติต่างๆที่กล่าวมาแล้ว บวกกับประวัติและประสบการณ์งานวิจัย จึงไม่แปลกใจที่ บริษัทฯ ที่ผู้เขียนกำลังแนะนำคุณๆอยู่ขณะนี้ (เอเชี่ยนไลฟ์) จะจำหน่ายสินค้าในกลุ่มสินค้า ดูแลสุขภาพ และ ความงาม

แต่ให้ฉงนอยู่บ้างก็คือ สินค้ากลุ่มเหล่านี้ มันเป็นสิ่งขายดีตลอดกาล ที่ทุนต่างชาติใช่ทุกวิถีในการครอบงำผูกขาด โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา ไม่เชื่อไปเปิดตู้ยาของคุณดู หรือ ตรวจดูในห้องน้ำ เจอ “นีเวีย”หรือเปล่า, ยาสีฟัน “วิเศษนิยม” เจอไหม

แสดงว่าผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับจากห้องวิจัยทั่วโลก และยังแสดงว่า บริษัทยาชั้นนำที่ออเดอร์สินค้าจากโรงงานในเครือเอเชี่ยนไลฟ์มีจริง,เกิดขึ้นจริง (เพราะถ้าของปลอม ฝรั่งมันสะกิด อย. ลุยไปแล้ว)

จึงเป็นเรื่องภาคภูมิใจที่ร้านของคุณจะได้จำหน่ายสินค้าเหล่านี้
แต่จะทำอย่างไร? ขายอย่างไรล?ะ


คำตอบคือ ร้านค้าปลีกแบบเฉพาะทาง (Specialty Shop) ครับผม

ทางรอดค้าปลีก ตอนที่2 จุดเปลี่ยน




ทางรอดธุรกิจร้านค้าปลีกในปัจจุบัน
บทที่สอง จุดเปลี่ยน



ประโยคทิ้งท้ายจากบทความที่แล้ว “การรวมพลังของมดจำนวนมากที่สามารถล้มช้าง” ไม่ใช่พูดเล่นสำนวน แต่เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว และมีผู้ประกอบการดำเนินการได้แล้ว แต่ยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก ด้วยกลุ่มบริษัทนี้ดำเนินกลยุทธ์แบบ Multi-approach คือการใช้หลายวิธีการจำหน่ายเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง เพราะต้องการหลีกเลี่ยงการใช้ช่องทางจำหน่ายแบบทุ่มตลาด โหมโฆษณา เพราะค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะถูกนำกลับมาเป็นต้นทุน ส่งผลต่อราคาขายปลีกที่ต้องสูงขึ้น ทั้งยังเข้าทาง ค้าปลีกข้ามชาติ

การรวมตัวของกลุ่มนี้เป็นการสร้างความแข็งแกร่งด้าน สินค้าเฉพาะทาง และที่สำคัญเป็นสินค้าที่มีคุณภาพระดับสากล เป็นผลงานที่สถาบันวิจัยชั้นนำทั่วโลกยอมรับ บริษัทเวชสำอางข้ามชาติ สั่งซื้อวัตถุดิบ (ไปผลิตภายใต้แบรนด์ของเค้า เราก็สั่งนำเข้ามาบริโภค เพราะเชื่อในแบรนด์ ตามฟอร์ม) อาจจะเป็นเพราะกลุ่มผู้ริเริ่มเป็นนักวิทยาศาสตร์ไทย และ เป็นอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย ความเป็นครูจึงอยู่ในสายเลือด “การให้” จึงเป็นความต้องการของคนกลุ่มนี้

กลุ่มผู้นำกลุ่มแรก และ เป็นเจ้าของผลงานวิจัย และสิทธิบัตร รวมตัวกันในรูปแบบบริษัท ดำเนินธุรกิจตั้งแต่ ธุรกิจต้นน้ำ จนถึง ธุรกิจการขาย สู่ผู้บริโภค ภายใต้ชื่อ และข้อมูลโดยสังเขป ดัวนี้

บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน)
เว็บไซต์บริษัท http://www.apco.co.th

บริษัทฯ เริ่มดำเนินธุรกิจผลิตเครื่องสำอางจากผลงานวิจัยตั้งแต่ปี 2531 ภายใต้ชื่อ บริษัท แนทเจอรัล คอสเมติคส์ รีเสิร์ช จำกัด และเปลี่ยนชื่อเพื่อครอบคลุมลักษณะธุรกิจแล้วแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนใน วันที่ 12 กรกฎาคม 2548 หลังจากได้ซื้อหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 ของทุนจดทะเบียนของบริษัท 3 แห่ง ได้แก่
1. บริษัท เอเชียนนูทราซูติคอลส์ จำกัด (Asian Nutraceuticals Co., Ltd.)ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจด้านการวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเสริมอาหาร
2. บริษัท กรีนโกลด์ จำกัด (Green Gold Co., Ltd.)
ทุนจดทะเบียน 23 ล้านบาท ซึ่งเป็นโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
3. บริษัท เอเชียนไลฟ์ จำกัด (Asian Life Co., Ltd.)
ทุนจดทะเบียน 31 ล้านบาท ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเสริมความงาม และผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารที่เกิดขึ้นจากการผลิตของทุกบริษัทในกลุ่ม ด้วยระบบขายตรงหลายชั้น ปัจจุบันได้ขยาย ช่องทางในตลาดร้านขายยาและห้างสรรพสินค้าเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทฯ เป็นผู้ร่วมทุนร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาทของบริษัทมิราเคิล ดิสคัฟเวอรี่ส์ จำกัด ซึ่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อ สุขภาพและความงามผ่านสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ (TV Marketing)

หุ้นสามัญจดทะเบียนของ APCO ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2548 คือ 93 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท มีสินทรัพย์รวม 153.2 ล้านบาท และกำหนดจะเพิ่ม หุ้นสามัญเพิ่มทุนอีก 23.25 ล้านหุ้น รวมเป็น 116.25 ล้านหุ้น โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้สามารถเสนอขายหุ้นต่อประชาชนผ่านตลาดหลักทรัพย์ MAI แล้ว

เป้าหมายการดำเนินธุรกิจ
1. ขยายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ออกไปสู่ตลาดในต่างประเทศให้มากที่สุด เพื่อให้ธุรกิจของบริษัทฯ ไม่ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใน 1 – 2 ปีข้างหน้า อันจะนำมาซึ่งรายได้ที่มั่นคงอย่างต่อเนื่อง
2. ทำให้บริษัทฯ และบริษัทย่อยเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเสริมความงาม ด้วยการดำเนินงานภายใต้ การประกอบธุรกิจที่ครบวงจร ตั้งแต่การวิจัย การพัฒนา การผลิต การตลาด และการขาย ภายใต้ช่องทางการจัดจำหน่ายในระบบการขายตรง
3. เพื่อให้บริษัทฯ และบริษัทย่อยมียอดขายที่เติบโตมากขึ้น ควบคู่ไปกับการขยายจำนวนสมาชิกที่เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัทย่อย โดยอาศัย พื้นฐานความเชี่ยวชาญทางด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการใช้กลยุทธ์การตลาดต่างๆ ทั้งในรูปแบบ Multi-brand Strategy และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ๆผ่านร้านขายยา, ห้างสรรพสินค้า , ศูนย์บริการเสริมความงาม และ TV Marketing ซึ่งจะช่วยให้ครอบคลุม


คณะกรรมการบริษัท
1. ศ.ดร. พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ
2. ดร. ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ กรรมการ
3. นายชินการ สมะลาภา กรรมการ
4. คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ กรรมการ
5. รศ. อรุณี วิริยะจิตรา กรรมการ
6. นาง มาลีรัตน์ ปลื้มจิตรชม กรรมการ
ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริษัท รศ.ดร. เสรี วงษ์มณฑา


กลุ่มผลิตภัณฑ์ หลักของบริษัทฯ คือ
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเสริมความงาม มีผลิตภัณฑ์ย่อย 3 ประเภท คือ
1.1 ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า บรรเทาปัญหาสิวและผิวหนัง Garcinia ประกอบด้วยสบู่ล้างหน้า เจลล้างหน้า ครีมแต้มสิว ครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด ครีมอาบน้ำแ
1.2 ผลิตภัณฑ์เสริมสร้างและบำรุงผม บรรเทาปัญหาผมร่วง Haregrow และ Zepharan (จัดจำหน่ายโดยบริษัท สมาพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด)
1.3 ผลิตภัณฑ์กระชับสัดส่วน Gold Shape ใช้ทาและนวดเพื่อกระชับทุกส่วนที่มีส่วนเกิน ไร้ผลข้างเคียงแม้ใช้ต่อเนื่อง ได้รับการยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัยจาก สถาบัน Dermscan ประเทศฝรั่งเศส เป็นผลิตภัณฑ์ยอดนิยมซึ่งมีบริษัทผู้แทนจำหน่ายกว่า 20 ประเทศทั่วโลก


ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีผลิตภัณฑ์ย่อย 3 ประเภท คือ
2.1 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกระชับส่วนเกิน Hydrolite (จัดจำหน่ายโดย สมาพันธ์เทรดดิ้ง), Gold Shape , TrimOne , Mils , Gold Shape Drink,
2.2 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงสุขภาพ โดยแบ่งเป็น • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ปรับระดับภูมิคุ้มกันให้สมดุล Garcinia Diabenox Arthritis Noriasis, Myhelth • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย Ginkgo biloba
2.3 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงผิวพรรณ Bryte & Spryte


กลุ่มผู้นำกลุ่มที่สอง มาจากความคิดริเริ่มของผู้นำกลุ่มแรก สานต่อเจตจำนงค์โดยกลุ่มนักการตลาด เพื่อดำเนินธุรกิจการจัดจำหน่ายในหลายรูปแบบสู่ผู้บริโภค ภายใต้ชื่อ และข้อมูลโดยสังเขป ดังนี้
บริษัท เอเชียนไลฟ์ จำกัด
เว็บไซต์บริษัท http://www.asianlife.co.th

บริษัท เอเชียนไลฟ์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2542 จากการรวมตัวของนักธุรกิจผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ด้วยปณิธานมุ่งมั่นที่จะให้คนไทยมีส่วนร่วมในการสร้างอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ และความงามที่มีความมั่นคง และยั่งยืน โดยผ่านองค์กรธุรกิจขายตรงที่มีแนวทางในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง ซึ่งสามารถสร้างงานและสร้างเงินให้แก่สมาชิกเอเชียนไลฟ์จำนวนแสนคน ตลอดจนมีส่วนในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้นด้วยการส่งออก

ผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่ายโดยเอเชียนไลฟ์ มีทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นจาก ผลงานการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาโดยคณะวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ของเอเชียน นูทราซูติคอล เซ็นเตอร์ (Asian Nutraceutical Centre) โดยมีมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ดังนี้
มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้
มีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ 100%
มีประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เกินกว่า 90%


จากกลุ่มผู้นำ2กลุ่มข้างต้น เป็นเสมือนการสร้างเครือข่ายที่นำสินค้าคุณภาพระดับสากล มาดำเนินการตลาดในหลายรูปแบบให้ผู้สนใจดำเนินธุรกิจได้เข้าร่วม ได้แก่
ธุรกิจค้าปลีกเฉพาะทาง
· ร้านดูแลสุขภาพและความงาม
· ร้านขายยา (พันธมิตรร่วมค้า)
ธุรกิจขายตรง
· ขายตรงชั้นเดียว
· ขายตรงMLM
ธุรกิจออนไลน์


ส่วนในรายละเอียดทางธุรกิจ ต้องสอบถามกันเอาเองนะครับ


หมายเลขโทรสัพท์ติดต่อ อยู่หน้าเว็บ http://www.bimasian.com/





ตอนหน้า “กลยุทธ์ร้านค้าปลีกเฉพาะทาง




ทางรอดค้าปลีก ตอนที่1 ปฐมบท



ทางรอดธุรกิจร้านค้าปลีกในปัจจุบัน
ปฐมบท



ธุรกิจร้านค้าปลีกดั้งเดิมของเรา กำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤต เนื่องจากการแข่งขันจากธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern trade) ที่มีสินค้าและบริการแบบครบวงจร (One stop shopping) ส่งผลกระทบ ต่อร้านค้าปลีกสมัยใหม่แต่ขนาดเล็กกว่าโดยตรง และกับร้านค้าปลีกดั้งเดิมด้วย

ทำให้มีการปรับตัวกันอย่างต่อเนือง กระแสที่ได้รับความนิยม และ พิสูจน์ให้เห็นเด่นชัด ได้แก่ ร้านค้าปลีกเฉพาะทาง เห็นได้จาก ปัจจุบันในศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีร้านค้าที่ขายสินค้าเฉพาะทางเกิดมากขึ้น เช่น ร้านขายเฉพาะเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน ร้านขายเฉพาะวัสดุก่อสร้าง ห้างที่ขายเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีร้านค้าสมัยใหม่ที่เป็นสมาชิกของแฟรนไชส์ สำหรับร้านในย่านชุมชนการค้า หรือ ในเมือง ร้านขายสินค้าและบริการต่าง ๆ แบบStand alone เกิดขึ้นจำนวนมาก อาทิ แฟรนไชส์ของร้านขายแว่นตา แฟรนไชส์ของร้านปะยางและตั้งศูนย์ถ่วงล้อ ฯลฯ

ลักษณะเด่นที่สำคัญประการหนึ่งของระบบค้าปลีกสมัยใหม่ คือ จำนวนและความหลากหลายของสินค้า ซึ่งส่งผลทำให้ต้นทุนของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการในห้างขนาดใหญ่ลดลง อาทิ ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบราคาและคุณภาพสินค้าได้ง่าย
และการเดินทางมาซื้อสินค้าที่ห้างขนาดใหญ่ยังทำให้สะดวก ต้นทุนการเดินทางลดลง

แนวทางหนึ่งที่ร้านค้าปลีกดั้งเดิมจะแก้ไขความเสียเปรียบดังกล่าว และ สามารถแข่งขันกับร้านค้าปลีกขนาดใหญ่หรือธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ได้ คือ การปรับตัวสู่ร้านเฉพาะทาง แต่การสร้างรูปแบบร้านเฉพาะทางไม่ง่ายนัก เพราะต้องมีรวมกลุ่มสินค้าที่มีคุณภาพสูง และ ความหลากหลายในกลุ่มสินค้าและบริการ (World class quality) การมีเครือข่าย หรือ สาขา หรือ การรวมตัวกันเป็น พันธมิตร เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความสะดวก และทำให้เกิดความได้เปรียบจากขนาดภายนอก (external economy of scale) ข้อควรระวังของการรวมตัวเป็นลักษณะของตลาดที่ขายสินค้าเฉพาะทางคือ การมีคู่ค้าหลายรายที่มีสินค้าในกลุ่มเดียวกันมารวมตัวกัน เพื่อจำหน่ายสินค้าในสถานที่เดียวกัน แม้ดูเหมือนจะทำให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบราคาและคุณภาพสินค้าได้ แต่อาจส่งผลเสียต่อคู่ค้ารายมีสินค้าคุณภาพแต่ขาดประชาสัมพันธ์ ซึ่งในที่สุดจะส่งผลย้อนกลับมายังผู้ประกอบการโดยตรง

ตัวอย่างคลาสิกของรูปแบบของการรวมตัว คือ “ตลาดนัด” หรือเรียกให้ร่วมสมัย คือ “มาร์เก็ตเพลส” (Market Place) อาทิ ตลาดนัดสวนจตุจักรในเขตจตุจักร ตลาดสำเพ็งในเขตสัมพันธวงศ์ ตลาดผ้าโบ้เบ้ในเขตป้อมปราบ ตลาดเสื้อผ้าประตูน้ำในเขตราชเทวี ตลาดต้นไม้ในเขตตลิ่งชัน ฯลฯ ซึ่งตลาดเหล่านี้ยังสามารถดึงดูดลูกค้าจำนวนมากและสามารถจำหน่ายสินค้าได้ แม้ต้องเผชิญการแข่งขันจากธุรกิจการค้าขนาดใหญ่

การเกิดขึ้นของตลาดเฉพาะทางตามข้างต้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ซึ่งบทบาทสำคัญในการผลักดัน คือ รัฐบาลและกรุงเทพมหานครควรมีส่วนในการจัดหาพื้นที่ตลาด โดยการพัฒนาพื้นที่เดิมของกรุงเทพฯที่ยังใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ รวมทั้งการเจรจาขอใช้พื้นที่หรือที่ดินของหน่วยงานราชการต่าง หรือซื้อพื้นที่หรือส่งเสริมเอกชนซื้อพื้นที่เพื่อสร้างตลาดใหม่ ๆ รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับประชาชนที่มาซื้อสินค้า

วิกฤตร้านค้าปลีกที่ทวีความรุนแรงขึ้น บ้านเราถนัดการออกกฎหมาย จึงมีความพยายามในการกีดกันการขยายสาขาของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ด้วยกฎหมายฉบับใหม่ๆ ซึ่งไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

แนวทางหนึ่งที่จะช่วยกู้วิกฤตร้านค้าปลีกได้ คือ การสนับสนุนการรวมตัวของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกดั้งเดิม เพื่อพัฒนาขึ้นเป็นตลาดเฉพาะทางในพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีศักยภาพ ซึ่งเปรียบเสมือนการรวมพลังของมดจำนวนมากที่สามารถล้มช้างได้

แล้วจะมีกลุ่มในบ้าง ที่สนใจเรื่องเหล่านี้ ตอนหน้ามาคุยกันต่อนะครับ

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

10 ทางออกค้าปลีกไทย

10 ทางออกค้าปลีกไทย
ที่มา http://thaicons.thainhf.org


การรุกหนักของทุนค้าปลีกขนาดใหญ่ที่สร้างผลกระทบในวงกว้างต่อสังคมไทยในรอบทศวรรษที่ผ่านมานี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศไทยขาดกฎกติกาในการสร้างดุลยภาพระหว่างทุนใหญ่และทุนเล็กอย่างเหมาะสม


ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 จึงได้ตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการค้าที่เป็นธรรมและการคุ้มครองผู้บริโภค ขึ้นมาศึกษาปัญหา ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายว่าด้วยการค้าที่เป็นธรรมและการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะสถานการณ์การค้าปลีกและค้าส่งของไทย



ซึ่งทางคณะอนุกรรมการฯ ได้มีการจัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีส่วนได้เสียจากกฎหมายการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งในภาคส่วนต่างๆ ของสังคม จนกระทั่งได้ข้อสรุปเป็นมาตรการสนับสนุนเพื่อสร้างดุลยภาพในตลาดค้าปลีกค้าส่งมา 10 ประการ คือ



1. การควบคุมการขยายสาขาของห้างค้าปลีกสมัยใหม่ให้หยุดหรือชะลอการขยายสาขา เพราะปัจจุบันแทบจะไม่มีพื้นที่ให้ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมทำการค้าได้อีกแล้ว เนื่องจากห้างค้าปลีกสมัยใหม่ได้ขยายพื้นที่ครอบคลุมทำเลจนเกือบหมดแล้ว โดยในการควบคุมการขยายสาขาต้องพิจารณาเรื่องต่อไปนี้
1.1 ท้องที่
ต้องกำหนดให้ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ตั้งอยู่นอกเขตเมืองเพื่อแบ่งพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายกัน โดยให้ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมตั้งอยู่ในเมือง และชุมชน ส่วนห้างค้าปลีกสมัยใหม่ตั้งอยู่นอกเมือง ซึ่งอาจจะเสียเปรียบบ้าง แต่ห้างค้าปลีกสมัยใหม่มีศักยภาพในด้านอื่นๆ ที่จะสามารถแข่งขันได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงห้างค้าปลีกสมัยใหม่ประเภท Hyper Mart ที่ลดขนาดลงด้วย โดยห้ามห้างค้าปลีกสมัยใหม่ที่ลดขนาดลงดังกล่าวตั้งอยู่ในเมืองด้วยเช่นกัน ทั้งยังต้องมีการจัดทำเขตวัฒนธรรมเพื่อสงวนให้เฉพาะร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมสามารถค้าขายได้ตามวิถีชุมชนที่เคยค้าขายกันมาตั้งแต่ในอดีต
1.2 จำนวน
ต้องคำนวณปริมาณพื้นที่การประกอบธุรกิจค้าปลีกเทียบกับจำนวนประชากรในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้มีสัดส่วนห้างค้าปลีกสมัยใหม่กับร้านค้าแบบดั้งเดิม และจำนวนประชากรในพื้นที่ (economic need test) ให้เหมาะสม เพื่อให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้
1.3 เวลาเปิด-ปิดห้างค้าปลีกสมัยใหม่
กำหนดให้ห้างค้าปลีกสมัยใหม่บริหารจัดการเวลาเปิดปิดทำการเอง โดยไม่ได้กำหนดเวลาเปิดปิดตายตัว แต่อาจกำหนดให้ห้างค้าปลีกสมัยใหม่มีเวลาเปิดบริการ เช่น 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยไม่จำกัดวันและระยะเวลาเปิดทำการ แต่รวมแล้วทั้งสัปดาห์ต้องไม่เกินที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้เพื่อให้ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมหรือโชห่วยได้ค้าขายสินค้าบ้าง

2. การมีกฎหมายควบคุมการขายสินค้าราคาต่ำกว่าทุน และบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบและให้มีประสิทธิภาพ เช่น พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 กฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อม และกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น นอกจากนี้ต้องมีมาตรการกำกับดูแลการขยายตัวของตราสินค้าเฉพาะของผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง (House Brand หรือ Private Brand) เพราะจะเป็นอุปสรรคประการหนึ่งต่อการพัฒนานวัตกรรมของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย ท้ายที่สุดผู้ประกอบธุรกิจผู้ผลิตสินค้ารายย่อยไม่มีโอกาสเกิดขึ้นใหม่ได้เลย ทั้งจากปัจจัยด้านราคา ฯลฯ จะส่งผลต่อภาคการผลิตของประเทศไทยในระยะยาว นอกจากนี้ต้องมีมาตรการตรวจสอบผู้ประกอบการให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542



3. การใช้มาตรการทางภาษีโดยให้ห้างค้าปลีกสมัยใหม่แต่ละสาขายื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในท้องถิ่นที่สาขาของห้างค้าปลีกสมัยใหม่นั้นตั้งอยู่ โดยไม่ให้ยื่นชำระภาษีรวมกันที่สำนักงานใหญ่ เนื่องจากการยื่นชำระภาษีของทุกสาขารวมกันที่สำนักงานใหญ่ ทำให้ห้างค้าปลีกสามารถนำรายได้ของสาขาที่ขาดทุนมาหักค่าใช้จ่าย และเสียภาษีน้อยลง โดยต้องพิจารณาแก้ไขเรื่องดังกล่าวในประมวลกฎหมายรัษฎากร ทั้งยังต้องให้มีการนำภาษีที่เก็บได้ในแต่ละท้องถิ่นไปให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเปิดสาขาของห้างค้าปลีกสมัยใหม่ โดยอาจให้มีกองทุนให้กู้ยืม หรือช่วยเหลือ รวมทั้งอาจนำไปเป็นระบบช่วยพัฒนาร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมหรือโชห่วยต่อไป



4. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยควรให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจค้าปลีกค้าส่งทั้งผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกค้าส่งแบบดั้งเดิม ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ ผู้ผลิต เข้ามามีส่วนร่วมในการร่างกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง เพราะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวอย่างแท้จริง รวมทั้งให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย (กรมโยธาธิการและผังเมือง) และองค์กรปกครองท้องถิ่น เข้ามามีบทบาทด้วย เพื่อการประสานงานอย่างบูรณาการ



5. กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นโดยควรให้ท้องถิ่นมีอำนาจตัดสินใจหรือพิจารณาอนุญาตให้ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ในท้องถิ่นของตนเอง เนื่องจากความต้องการและพัฒนาการของแต่ละชุมชนมีความแตกต่างกัน



6. ต้องพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม พฤติกรรมผู้บริโภค ธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบธุรกิจ (Corporate Social Responsibility : CSR) ประกอบการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ด้วย เพื่อให้เป็นการค้าที่เสรีและเป็นธรรม โดยกำหนดให้การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่เป็นกิจการที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ที่จะก่อสร้างห้างค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ ก่อนการอนุญาตให้ก่อสร้างห้างค้าปลีก รวมทั้งต้องควบคุมให้ผู้ประกอบกิจการดำนินการก่อสร้างให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ทั้งในเรื่องโครงสร้าง ที่จอดรถ รวมทั้งมาตรการดูแลด้านการจราจรบริเวณโดยรอบห้างฯ โดยต้องพื้นที่รองรับรถสาธารณะที่คอยให้บริการอยู่บริเวณภายนอกห้างฯ



7. ให้รัฐเข้ามามีบทบาทกำกับดูแลการค้าให้เสรีและเป็นธรรมอย่างแท้จริง ดูแลให้การทำสัญญาระหว่างผู้ประกอบธุรกิจ (ห้งค้าปลีกสมัยใหม่กับผู้ผลิต) เป็นธรรม โดยอาจกำหนดสัญญามาตรฐาน (vendor agreement) ให้ปฏิบัติตาม หากสัญญาไม่เป็นธรรมให้รัฐสามารถดำเนินคดีได้โดยไม่ต้องมีตัวผู้เสียหาย เนื่องจากผู้ผลิตที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมไม่กล้าดำเนินคดีห้างค้าปลีกสมัยใหม่ เพราะยังต้องการทำธุรกิจกับห้างค้าปลีกสมัยใหม่ต่อไป



8. ให้รัฐให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในการประกอบธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม โดยให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านเงินทุน ความรู้ และเทคโนโลยี เช่น การจัดวางสินค้า และการให้บริการโลจิสติกส์ เป็นต้น



9. การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ โดยควรมีการรวมกลุ่มกันของผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม และผู้ค้าส่ง โดยอาจนำระบบ Independent Grocery Alliance มาใช้ เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม ผ่านระบบการค้าส่ง โดยเปลี่ยนระบบค้าส่งให้เป็นระบบกระจายสินค้าไปพร้อมกัน เพื่อช่วยลดต้นทุน ให้มีระบบการฝึกอบรมผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม ให้มีความสามารถในการประกอบกิจการที่สูงขึ้น



10. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกให้ผู้บริโภคเข้าใจปัญหาและผลกระทบของการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งต่อสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม นอกจากการพิจารณาเรื่องราคาถูกเท่านั้น

กลยุทธ์การโฆษณาเฉพาะพื้นที่ Local Area Advertising Strategies


กลยุทธ์การโฆษณาเฉพาะพื้นที่ Local Area Advertising Strategies

เมื่อพูดถึงโฆษณาคนส่วนใหญ่จะนึกถึงสื่อโทรทัศน์เป็นสื่อหลัก โดยคิดถึงเม็ดเงินเป็นหลักล้านที่ต้องลงไปกับการใช้โฆษณา จนกิจการขนาดเล็กแบบ SMEs ไม่กล้าคิดที่จะใช้โฆษณามาเป็นเครื่องมือในการเพิ่มยอดขายและขยายตลาด โดยลืมไปว่าโฆษณาถ้าใช้ให้เป็น กิจการขนาดเล็กที่มีกลุ่มลูกค้าไม่กว้างขวางนักก็สามารถใช้กลยุทธ์โฆษณาเฉพาะพื้นที่(Local Area Advertising Strategies) ได้โดยไม่ต้องใช้งบโฆษณาที่มุ่งคนวงกว้าง (Mass Market) อย่างกลยุทธ์โฆษณาโดยทั่วไปที่บริษัทใหญ่ ๆ ใช้กัน

กลยุทธ์การโฆษณาเฉพาะพื้นที่ อาวุธสำคัญของธุรกิจค้าปลีก

กลยุทธ์การโฆษณาเฉพาะพื้นที่ จะว่าไปแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ โฆษณาในยุคเริ่มแรกของไทยและแทบทุกประเทศในโลกก็เริ่มต้นมาจากการทำโฆษณาในเขตพื้นที่ที่จำกัดที่ใช้งบประมาณไม่สูงนักเพราะสื่อโฆษณาหลักในอดีตก่อนที่จะมีสื่ออย่างโทรทัศน์หรือวิทยุจะเป็นพวกใบปลิว แผ่นพับ โปสเตอร์ ที่ไม่ได้มีขอบเขตการเผยแพร่สู่สาธารณะชนในวงกว้างมากนัก แต่ในช่วงต่อมาสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสารและวิทยุ เข้ามามีอิทธิพลต่อการสื่อสารการตลาด จนนักการตลาดเลือกใช้สื่อเหล่านี้จนลืมสื่อโฆษณาเฉพาะพื้นที่ที่สื่อถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในวงแคบกว่า

ถึงวันนี้การใช้สื่อโฆษณาเฉพาะพื้นที่เริ่มจะได้รับความสนใจมากขึ้นในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อที่เป็นแฟรนไชส์ ร้านอาหารประเภท ฟาสต์ฟู้ด รวมทั้งธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่มีสาขาหลากหลายในพื้นที่เริ่มกระจายอำนาจการตัดสินใจในการทำงานทางการตลาดให้ผู้จัดการเขต ผู้จัดการสาขาหรือผู้จัดการโรงภาพยนตร์ ในบางบริษัท เช่น โรงภาพยนตร์ EGV มีการตั้งตำแหน่ง Local Area Marketing ที่ทำหน้าที่ดูแลงานการตลาดของสาขา โดยมีอำนาจตัดสินใจและมีงบประมาณทางการตลาดให้ดูแลเองส่วนหนึ่งซึ่งไม่ต้องรอการสั่งการจากผู้บริหารทางการตลาดในส่วนกลาง เพราะผู้บริหารเริ่มเห็นว่าลักษณะลูกค้า คู่แข่งขันและปัญหาด้านการตลาดของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน แผนงานหรือกิจกรรมทางการตลาดที่ส่วนกลางจัดไปให้หลายครั้งไม่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่

เมื่อแนวคิดการนำการตลาดเฉพาะพื้นที่หรือ Local Area Marketing ถูกนำมาใช้ในการทำงานทางการตลาด เครื่องมือในส่วนประสมทางการตลาดที่ส่วนกลางยอมให้ผู้จัดการสาขาหรือ Local Area Marketing ตัดสินใจก็จะอยู่ในกลุ่มการส่งเสริมการตลาดเป็นส่วนใหญ่ เช่น การจัดรายการส่งเสริมการขาย การโฆษณาเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าในเขตนั้น ๆ เข้ามาที่ร้านมากขึ้น การจัด Event Marketing ในสาขา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จำเป็นต้องใช้การโฆษณาเฉพาะพื้นที่เป็นการสื่อกิจกรรมไปยังกลุ่มลูกค้า ซึ่งนับวันการใช้สื่อโฆษณาในลักษณะนี้จะยิ่งเพิ่มขึ้น นี่ยังไม่นับรวมถึงกิจการขนาดเล็ก ประเภท SMEs ที่รัฐบาลชุดนี้เริ่มให้เครื่องมือทางการตลาดสมัยใหม่มาใช้มากขึ้น แต่ด้วยขนาดของธุรกิจที่จำกัด กลยุทธ์การโฆษณาเฉพาะพื้นที่จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่กลุ่ม SMEs เริ่มนำไปปรับใช้

เครื่องมือในการทำโฆษณาเฉพาะพื้นที่
ในการทำโฆษณาเฉพาะพื้นที่ สื่อหลัก ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้ประกอบด้วย

1. หนังสือพิมพ์และวิทยุท้องถิ่น ซึ่งจะเหมาะกับร้านค้าปลีกและธุรกิจขนาดเล็กที่อยู่ในต่างจังหวัดและลูกค้า ส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่เองหรือสามารถใช้กับชุมชนที่มีสื่อหนังสือพิมพ์หรือวิทยุของตนเอง อย่างเช่นในสถาบันการศึกษาใหญ่ ๆ ในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด จะมีหนังสือพิมพ์ของมหาวิทยาลัย เสียงตามสายของสถาบันการศึกษาหรือศูนย์การค้าใหญ่ ๆ อย่างฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ก็จะมีวารสารประชาสัมพันธ์ของศูนย์การค้าที่พิมพ์แจกจ่ายให้กับลูกค้าที่มาจับจ่ายใช้สอยในศูนย์การค้าและส่งให้สมาชิก

ร้านค้าหรือธุรกิจที่อยู่ในจังหวัด สถาบันการศึกษาหรือศูนย์การค้าที่มีสื่อเหล่านี้ก็สามารถลงโฆษณาสินค้า กิจกรรมทางการตลาดหรือธุรกิจของตนเองได้โดยใช้เงินลงทุนไม่สูงนักและสื่อไปยังลูกค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมายกว่าการสื่อผ่าน Mass Media

2. ใบปลิว แผ่นพับ เป็นสื่อโฆษณาเฉพาะพื้นที่ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำและสามารถทำด้วยตัวเองได้ไม่ยุ่งยากนัก ด้วยการจัดรูปแบบของงานโฆษณาด้วยคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในบ้านแล้วถ่ายเอกสารหรือโรเนียวใบปลิว แผ่นพับแจกและหากต้องการแจกจ่ายให้มากขึ้นก็สามารถจัดพิมพ์ในโรงพิมพ์ให้ใบปลิวแผ่นพับออกมาดูดีกว่าการถ่ายเอกสารหรือหรือโรเนียวได้

แต่ในด้านการแจกจ่ายใบปลิว แผ่นพับ วิธีการยอดนิยมที่ทำก็เห็นจะเป็นการจ้างคนไปยืนแจกตามสะพานลอย ป้ายรถเมล์ หน้าศูนย์การค้าในพื้นที่ที่คิดว่ากลุ่มเป้าหมายของเราอยู่หนาแน่น ซึ่งวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายในการกระจายสื่อออกไปไม่สูงนัก แต่ก็มีความสูญเปล่ามากเพราะลูกค้าที่ได้รับส่วนใหญ่ก็จะทิ้งมากกว่าอ่าน ที่ญี่ปุ่นร้านอาหารบางแห่งแก้ปัญหาด้วยการตีพิมพ์ข้อความโฆษณาของร้านบนซองกระดาษทิชชู่ขนาดเล็ก แล้วจ้างคนไปยืนแจกในชุมชนผู้รับจะได้ไม่ทิ้งเพราะเก็บไปใช้ประโยชน์ได้ ในเมืองไทยมีผู้ประกอบการ SMEs เล่าให้ฟังว่าเขาใช้ใบปลิวเป็นสื่อโฆษณาร้านด้วยการพิมพ์เรียงเบอร์ไว้อีกด้านของกระดาษ แล้วจ้างเด็กขายเรียงเบอร์ในพื้นที่ช่วยแจกให้ลูกค้าย่านชานเมืองในวันที่สลากกินแบ่งออกรางวัล แค่ 2-3 งวด ร้านเขาก็เป็นที่รู้จักทั้งตลาดเรียกได้ว่าสื่อโฆษณาทางเรียงเบอร์ ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทางการตลาดอย่างหนึ่ง

วิธีการแจกใบปลิวอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลในการกระจายสื่อโฆษณาเฉพาะพื้นที่คือ การติดต่อเด็กส่งหนังสือพิมพ์ในพื้นที่ที่ต้องการให้ช่วยกระจายให้ โดยต้นทุนที่จ้างกันก็ตกประมาณใบละ 1 บาทหรือถ้าต่อรองดี ๆ อาจได้ร้อยละ 50 บาท ซึ่งก็ถูกกว่าการส่งทางไปรษณีย์และประหยัดเวลาในการจ่าหน้าซองเอกสารด้วย

3. สื่อโฆษณาเคลื่อนที่ เป็นสื่อโฆษณาอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งได้ผลดีในการทำการตลาดเฉพาะพื้นที่ในตลาดภูธร รถแห่ที่เป็นรถกระบะติดป้ายโฆษณา ติดเครื่องเสียง โดยเปิดเทป พูดสดหรือเปิดเป็นเพลงโฆษณา เป็นวิธีการที่ได้ผลมากในตลาดต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการโฆษณากิจกรรมพิเศษทางการตลาดหรือรายการส่งเสริมการขายของธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจบันเทิงอย่างภาพยนตร์หรือคอนเสิร์ต โดยค่าใช้จ่ายของรถเร่โดยทั่วไปจะตกอยู่ประมาณ 500 บาทต่อวัน เว้นแต่บางจังหวัดที่ค่าครองชีพสูง ๆ อย่างหาดใหญ่ ราคาค่าเช่ารถก็จะขึ้นไปถึงวันละ 1,000 บาท

ถ้าจะให้ประหยัดกว่านั้น ก็สามารถใช้สื่อโฆษณาที่เป็นป้านติดข้างหรือบนรถสองแถวได้ ก็คล้าย ๆ โฆษณาข้างและหลังรถเมล์ ในต่างจังหวัดหรือชานเมืองบางแห่งเริ่มมีคนใช้สื่อโฆษณาติดหลังหรือข้างรถสามล้อถีบ เท่าที่ทราบมาราคาก็อยู่ที่ป้ายละ 50 บาทต่อวัน ถือเป็นสื่อโฆษณาเคลื่อนที่ที่ราคาย่อมเยาทีเดียว

4. สื่อโฆษณากลางแจ้ง ที่มีตั้งแต่ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่หรือ Billboard ที่บางร้านก็ลงทุนทำติดหน้าร้านหรือก่อนทางเข้าร้านเพื่อดึงดูดลูกค้าเข้ามาอย่างที่ร้านขายขนมไทยและของฝากแถวจังหวัดเพชรบุรีหรือปั๊มน้ำมันนิยมทำ

ร้านอาหารหลายแห่งสร้างรูปสัญลักษณ์ที่มองเห็นแต่ไกลเป็นจุดสังเกตของร้าน ก็ถือว่าเป็นสื่อกลางแจ้งที่ได้ผลดี เช่น ร้านปลาเผาแถวก่อนที่จะไปบางปะอินที่ลานจอดรถก็มีหุ่นรูปปลาช่อนสูงรางๆตึก 4 ชั้นตั้งเด่นเป็นสง่ามองเห็นแต่ไกล รูปวัวที่ตั้งอยู่หน้าฟาร์มโชคชัย เครื่องบินที่ตั้งอยู่ปากทางเข้าร้านสเต็กเทพประทานแถวมวกเหล็ก ก็ถือว่าเป็นสื่อโฆษณาในกลุ่มนี้ที่ได้ผลดี

ถ้าสื่อกลางแจ้งขนาดเล็กลงมาหน่อยก็จะออกมาในลักษณะกันสาดแบนเนอร์ที่ติดอยู่ตามร้านค้าแถวริมถนนที่ปัจจุบันบริษัทใหญ่ ๆ หลายบริษัทก็จัดทำไปติดให้ร้านค้าหรือป้ายผ้า ธงราว เหล่านี้ก็เป็นสื่อโฆษณาเฉพาะพื้นที่ที่ช่วยตอกย้ำความทรงจำของลูกค้าที่พบเห็นให้จดจำยี่ห้อของร้านหรือสินค้าได้เป็นอย่างดี

5. การใช้สื่อนอกรูปแบบหรือสื่อโฆษณาทางอ้อม เช่น เสื้อยืด หมวก กระเป๋า เสื้อวินมอเตอร์ไซค์ ที่มีการพิมพ์ชื่อสินค้าหรือเบอร์โทรศัพท์ลงไปก็เป็นสื่อที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ของขวัญ ของที่ระลึก ที่ตีพิมพ์ชื่อสินค้าหรือข้อความโฆษณาลงไป เช่น ปฏิทิน ถุงใส่ของ ตุ๊กตา ปากกา นาฬิกา ก็เป็นสิ่งที่นิยมใช้ ถ้านึกไม่ออกว่าแปลงอะไรมาเป็นสื่อโฆษณาทางอ้อม สำหรับการทำโฆษณาเฉพาะพื้นที่ได้บ้างละก็ ให้นึกถึง ส.ส.เวลาหาเสียง เขาแจกอะไรกันบ้าง ทำป้าย ใช้สื่ออะไรบ้างแล้วนำมาประยุกต์ใช้ หากจะหาตัวอย่างของการทำโฆษณาหาเสียงของนักการเมืองในท้องถิ่นเป็นต้นแบบของการใช้สื่อลักษณะนี้ที่มีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพไม่น้อย

กลยุทธ์ และ สื่อโฆษณาเฉพาะพื้นที่ อาจจะถูกมองเป็นเหมือนของเด็กเล่นสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีงบโฆษณา ปีละหลายๆ สิบหลายร้อยล้านที่มีลูกค้ากระจายตัวอยู่มาก แต่สำหรับกิจการขนาดเล็ก หรือธุรกิจค้าปลีกที่ มีพื้นที่ขาย มีกลุ่มลูกค้าจำกัดเฉพาะพื้นที่แล้วละก็ การใช้การโฆษณาเฉพาะพื้นที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำการตลาดสมัยใหม่ที่ดี และยังเป็นการฝึกพัฒนาผู้จัดการร้านในแต่ละพื้นที่ให้ลองวางแผนตัดสินใจทางการตลาดในวงจำกัด โดยไม่ต้องรอการตัดสินใจจากส่วนกลาง ทีอาจจะช้า และไม่เข้าใจปัญญาในพื้นที่อย่างถ่องแท้

ไม่แน่ว่า กิจการที่เริ่มต้นใช้การโฆษณาเฉพาะพื้นที่ โดยมีงบประมาณ เดือนละ ไม่กี่พันบาทในช่วงเริ่มต้น ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า อาจก้าวขึ้นมาเป็น บริษัทขนาดใหญ่ ที่มีงบโฆษณาปีละ หลายร้อยล้านก็ได้


จุดเปลี่ยนค้าปลีกไทย ตอนที่2



กลยุทธ์โฮมโปร(พลัส) ต้นแบบร้านค้าเฉพาะทางสู้ยักษ์ดิสเคาท์สโตร์

ร้านโฮมโปรใช้คอนเซ็ปต์ของ Category Killer ร้านค้าปลีกเฉพาะทางขนาดใหญ่อาศัยความได้เปรียบเรื่องสินค้า และความเด่นของพื้นที่กว่า 6,000 ตารางเมตร เป็นแม่เหล็กดึงดูดลูกค้าและสร้างมูลค่าทางการตลาดเหนือคู่แข่งขันรายย่อยในตลาดเดียวกัน เหมือนโฮมเดโปต้นแบบในสหรัฐอเมริกาที่สร้างปรากฎการณ์และความสำเร็จอย่างมากมาแล้ว

สำหรับในไทย “โฮมโปร” ร้านค้าเฉพาะ (Special Store) หนึ่งใน Category รายใหญ่ในตลาด Home Improvement ของกลุ่มแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เป็นหนึ่งในกรณีศึกษาสำคัญที่จะชี้วัดถึงเส้นทางความสำเร็จของค้าปลีกรูปแบบใหม่ได้เป็นอย่างดี นับจากจุดเริ่มต้น ถึงกระบวนการปรับตัวทางธุรกิจ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
“ธุรกิจโฮมเซ็นเตอร์ เกิดเมื่อ 5 ปีก่อน เศรษฐกิจยังค่อนข้างดี บ้านจัดสรรมีการขยายตัวค่อนข้างมาก ทำให้ช่วงต้นมีการวางคอนเซ็ปต์และขนาดสาขาไว้ที่ระดับ 9,000-10,000 ตารางเมตร แต่เราเปิดได้เพียง 2 สาขา ก็เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ จึงพิจารณาว่าหากจะใช้คอนเซ็ปต์เดิมจะต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง จึงปรับขนาดพื้นที่ และหันไปให้ความสำคัญต่อการขยายพื้นที่ตามศูนย์การค้าจุดนี้เองเป็นเปลี่ยนแปลงปัญหาเป็นโอกาส เพราะเมื่อปรับคอนเซ็ปต์ทำให้การขยายตัวของโฮมโปรสูงขึ้น” นายคุณวุฒิ พรหมกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ โฮมโปร กล่าว
ในช่วงเริ่มต้นของธุรกิจ บริษัทมองการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ คือที่สาขารังสิต ซึ่งเป็นสาขาแรก มีขนาดพื้นที่ 9,000 ตารางเมตร รองลงมาคือ สาขารัตนาธิเบศร์ 8,000 ตารางเมตร เมื่อเกิดวิกฤตได้ปรับขนาดของพื้นที่ลง และลดขนาดเงินลงทุนแต่ละสาขา โดยแต่ละแห่งที่เกิดใหม่จะใช้พื้นที่ระดับ 5,000 ตารางเมตรต่อสาขาเท่านั้น
โฮมโปรพลัสอีกก้าวของธุรกิจ
การปรับตัวด้วยการลดขนาดของสาขาลงส่งผลดีกับธุรกิจ ทั้งในแง่ของเม็ดเงินลงทุนต่อสาขาที่ลดลง ความคล่องตัวทางการบริหาร ทำให้การขยายตัวในระยะ 5 ปี มีจำนวนทั้งสิ้น 9 สาขา ได้แก่ รังสิต รัตนาธิเบศร์ แฟชั่นไอซ์แลนด์ ฟิวเจอร์มาร์ท เสรีเซ็นเตอร์ เดอะมอลล์บางแค เดอะมอลล์โคราช รัชดาภิเษก และเพลินจิต พร้อมคอนเซ็ปต์ใหม่ที่ขยายเป็นโฮมโปร พลัส ในสาขาคาร์ฟูรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นหนึ่งช่องทางการตลาดที่ปรับตัวไปตามฐานลูกค้าในย่านที่มีกำลังซื้อสูง
เร่งพฤติกรรมผู้บริโภค
ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ระดับกลางถึงกลางสูง หรือเป็นระดับเจ้าของบ้าน และมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ โฮมโปรแบ่งการให้บริการออกเป็น 5 ตลาด ได้แก่
1. ตลาดที่ต้องมีการปรับปรุงดูแลรักษา 2.ตลาดซ่อมแซมบ้าน 3.ตลาดอุปกรณ์เครื่องใช้อำนวยความสะดวกในบ้าน 4.ตลาดปรับปรุงบ้านให้สวยงาม และ 5.ตลาดบ้านใหม่ ทั้งที่สร้างเองและบ้านโครงการจัดสรร โดยมีตลาดที่ใหญ่ที่สุด เป็นตลาดบ้านใหม่ 50% อีก 50% กระจายไปในแต่ละส่วนตลาด
ฐานลูกค้าปัจจุบัน มีประมาณ 70,000 ราย ปีนี้ตั้งเป้าขยายตัวเป็น 1 แสนราย
แผนงานในอนาคต พยายามทำให้ครบ วงจรมากขึ้น โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคให้มีแนวคิดของการวางแผน และเตรียมพร้อมก่อนที่จะเกิดเหตุชำรุด หรือเรียกว่า ตลาด Preventive อาทิ การเตรียมพร้อมที่จะซื้ออุปกรณ์ เครื่องใช้เพื่อสำรองไว้ในบ้าน กรณีที่เกิดการชำรุด ก็สามารถซ่อมแซม หรือเปลี่ยนใช้ได้ทันที
หากปรับพฤติกรรมผู้บริโภคได้ดังนี้จะเป็นตัวเสริมให้ธุรกิจเราขยายตัวมากขึ้น เฉลี่ยที่ระดับ 10% ต่อปี แต่ในปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคมักซื้อเมื่อชำรุดหรือเสียหายก่อน
แตกสาขาครอบคลุมพื้นที่
การขยายสาขาจะพัฒนาตามพื้นที่ โมเดิร์นเทรดเป็นหลัก ล่าสุดที่สาขาภูเก็ต ใช้พื้นที่ของโลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ หากมีบางทำเลที่ดี ก็จะพัฒนาเป็นสแตนอโลนด้วย
สำหรับการเติบโตของร้านค้าที่ขายสินค้าเฉพาะทาง (Special Store) จะประสบความสำเร็จหรือไม่เพียงใด ต้องพิจารณาที่รูปแบบการบริหารงานเป็นสำคัญ เพราะคอนเซ็ปต์ของร้านค้าดังกล่าวมีการนำมาใช้กันทั่วโลก ไม่เฉพาะในไทย และก็มีทั้งที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จบ้าง ดังนั้นคงวัดกันที่วิธีการบริหารงานมากกว่า
สำหรับจุดแข็งของโฮมโปร อยู่ที่ลูกค้ามาแล้วมีของเกี่ยวกับบ้านให้เลือกครบครัน ไม่ต้องเสียเวลาเดินหาหลายที่ และมีสินค้าให้เลือกมาก ถึง 23 กลุ่ม 60,000 รายการ
การขยายตัวทางธุรกิจ ตั้งเป้าในระยะ 2-3 ปีจากนี้จะมีให้ครบ 20 สาขา ในปี 2544 บริษัทมีรายได้ ประมาณ 2,300 ล้านบาท กำไรสุทธิ 59 ล้านบาท
สร้างแบรนด์ลอยัลตี้สินค้า
การสร้าง Brand Homepro ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งในแง่ของการเป็นที่รู้จักในตลาด แต่ยังถือว่าทำได้ประมาณ 70% ของที่คิดและวางแผนไว้เท่านั้น
ส่วนหนึ่งคือ การตั้งราคาสินค้าในร้านจะใช้ตั้งราคาสูงให้กับสินค้าบางกลุ่ม และตั้งราคาต่ำกับสินค้าบางกลุ่ม เพื่อสร้างยอดขายและส่วนดึงดูดลูกค้าในร้าน
สินค้าในร้านส่วนใหญ่จะนำเข้าโดยบริษัทประมาณ 5% ที่เหลือเป็นสินค้าที่นำเข้าโดยผู้นำเข้า และสินค้าในประเทศ อีกส่วนที่เป็นสินค้า House Brand ที่ผลิตและติดตราของบริษัท ทั้ง ผ้าม่าน พรม จะเลือกใช้แบรนด์ที่แตกต่างกันไป อาทิ โฮมไลน์, โฮมเบส
ที่มา บิสิเนสไทย

จุดเปลี่ยนค้าปลีกไทย ตอนที่1




จุดเปลี่ยนอนาคตค้าปลีกไทย ใช้กลยุทธ์Specialty Store VS One Stop Shopping



Specialty Store VS One Stop Shopping

ระบบค้าปลีกแบบ Modern Trade คือผลงานของระบบทุน การเติบโตของModern Tradeจึงเป็นลักษณะแบบ One Stop Shopping และ กระจายตัวขยายสาขาเข้าสู่ทุกพื้นที่ ที่มีศักยภาพของประเทศไทย มันจะส่งผลดีต่อระบบภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรัฐบาล และ ซัพพลายร์ขนาดใหญ่ เท่านั้น แต่มันจะทำลายระบบโซ่อุปทานของชุมชน ทำให้ชุมชนในพื้นที่ดังกล่าว เกิดภาวะขาดกระแสเงินสดเฉียบพลัน และ เรื้อรัง (จากกรณี ศึกษาของหาดใหญ่)

การต่อสู้ของชุมชน ในระบบทุน คือ ต้องสร้างภูมิคุ้มกันโดยใช้ระบบตลาดต่อสู้กับระบบตลาด )Operation BIM in Social ฮา ฮา ห้า) ดังนั้น ผู้ประกอบการในชุมชน ต้องศึกษาระบบตลาด โดยเฉพาะ “การตลาดค้าปลีก สมัยใหม่” นั่นคือ การสร้างร้านค้าปลีกของชุมชน โดยคนชุมชน เพื่อชุมชน


Specialty Store
ร้านค้าค้าปลีก แบบสเปเชียลตี้สโตร์ (Specialty Store) คือ ร้านจำหน่ายสินค้าเฉพาะประเภท เป็นทางเลือกใหม่ที่ผู้ค้าปลีกในชุมชน ตั้งแต่ผู้ประกอบการรายย่อย หรือแม้กระทั้งดีพาร์ทเม้นสโตร์ ชุมชน และ ดิสเคาน์สโตร์ ต้องให้ความสนใจ หากต้องการอยู่รอด และอาจต้องหันมาพึ่งรูปแบบนี้ในการขยายสาขา และเครือข่ายจากปัจจัยที่สำคัญของค้าปลีกไทย อันเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรง ข้อได้เปรียบของทุนต่างชาติ กฎหมาย มีข้อจำกัดบ้างสำหรับการขยายสาขาของห้างสรรพสินค้า ดิสเคาน์สโตร์ และ พฤติกรรมการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป แต่ก็ไม่ทำให้การขยายตัวของค้าปลีกขนาดใหญ่สะดุดลง แล้วธุรกิจชุมชนจะทำอย่างไร ภาวะกระแสเงินสดหมุนเวียนของชุมชน จะเปลี่ยนไปอย่างไร ไม่มีใครพูดถึง การปรับตัวแบบตัวใครตัวมันดูจะเป็นแนวทางที่ทุกคนคิด

ดังนั้นถ้าเราจะปรับตัวเพื่อยืนหยัดในโลกธุรกิจเราจะทำอย่างไร ระบบค้าปลีกสมัยใหม่ มีการใช้ช่องทางใน
การจำหน่ายสินค้าหลายรูปแบบ และ รูปแบบที่น่าสนใจคือ ค้าปลีกรูปแบบ Specialty Store ร้านจำหน่ายสินค้าเฉพาะประเภท ในปัจจุบันได้ปรากฎความสำเร็จเด่นชัดกว่าเมื่อก่อนมาก

นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด เคยให้ความเห็นว่า “ค้าปลีกรูปแบบ Specialty Store รวมไปถึงแบบ Category Killer มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอีก 2-3 ปีข้างหน้านี้ ด้านค้าปลีกแบบห้างสรรพสินค้าจะมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องแต่ไม่หวือหวา แต่ค้าปลีกแบบซูเปอร์เซ็นเตอร์ภายใน 2 ปีนี้ยังคงเติบโตอย่างสูงต่อไป จากนั้นก็จะเติบโตช้าลง เพราะมีการขยายตัวมากจนเต็มในเมืองไทยและจำต้องไปยังเมืองเล็ก”“เพาเวอร์ บาย เป็น 1 ในกลุ่มสินค้าดาวรุ่ง และจะทำรายได้เพิ่มมากขึ้นในกลุ่ม ค้าปลีกแบบร้านสเปเชียลตี้สโตร์ของเซ็นทรัลในอนาคต และอีก 2-3 ปีข้างหน้าจะยิ่งเด่นชัดมากยิ่งขึ้น ” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ให้ความเห็น

นายคุณวุฒิ ธรรมพรหมกุล กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) จำกัด ผู้บริหารร้านค้า Specialty Store โฮมโปร กล่าวว่า “ สินค้าที่จำหน่ายในร้านค้าปลีกในอนาคต จะเป็นNiche Market เพิ่มมากขึ้น[color] ส่วนสินค้าที่จำหน่ายเป็นแบบ Mass หรือสินค้าจำหน่ายจำนวนมากและหลากหลายไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก เนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้าเปลี่ยนไปหันใช้บริการตรงกับความต้องการ จากร้านจำหน่ายสินค้านั้นที่สะดวก”

อาจารย์ ฉัตรพล หิรัญกสิ ที่ปรึกษาและนักวิชาการของศูนย์นวัตกรรมนิด้า ให้ความเห็นว่า “ค้าปลีกในรูปแบบสเปเชียลตี้สโตร์จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีจุดเด่นเรื่องทำเลที่สะดวกใกล้ชิดผู้บริโภค ความหลากหลายในตัวสินค้าหรือในกลุ่มสินค้าที่ทำตลาด อีกทั้ง สินค้าต้องมีความโดดเด่น หรือ มีคุณสมบัติที่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ไม่มี (Exclusive Brand or New Feature) มิฉะนั้นจะถูกกลืนไปกับค้าปลีกแบบโมเดิร์นเทรดทันที สเปเชียลตี้สโตร์ ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ แต่จำเป็นต้องมีบุคลิกและสินค้าที่จำหน่ายชัดเจน ร้านขายสินค้าOTOPของประเทศญี่ปุ่น คือ คำตอบด้วยภาพที่ชัดเจน” อาจารย์กล่าวทิ้งท้าย


ค้าปลีกไทยจะอยู่รอด?



ค้าปลีกไทยจะอยู่รอดอย่างไร


หลังจากร่าง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ถูกตีกลับสองครั้งสองครา โดยครั้งหลังสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงพาณิชย์ผู้เป็นเจ้าของเรื่องนำร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวกลับไปทบทวนใน 2 ประเด็น คือ
1.การกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง โดยเฉพาะในเรื่ององค์ประกอบที่มาของคณะกรรมการ และคณะกรรมการระดับจังหวัด รวมถึงอำนาจของคณะกรรมการฯค่อนข้างครอบจักรวาล
2. มาตรการจัดระบบค้าปลีกค้าส่ง ก็ควรที่จะมีการกำหนดให้ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์การประกอบธุรกิจ ควรจะมีการกำหนดระยะห่างจากแหล่งชุมชนสำหรับค้าปลีกขนาดใหญ่และขนาดย่อม
ซึ่งล่าสุดกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเวทีระดมความคิดเห็น โดยเชิญตัวแทนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ นักวิชาการ ผู้ประกอบการรายเล็ก กลาง และใหญ่ สมาคมผู้เกี่ยวข้อง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แล้วที่ขาดไม่ได้กลุ่มสมาพันธ์ต้านค้าปลีกข้ามชาติ
เพื่อเก็บเอาข้อเสนอแนะที่แต่ละกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นออกมา ไปกลั่นกรองแล้วนำไปปรับปรุงร่างกฎหมายคุมค้าปลีกค้าส่งอีกครั้ง ก่อนจะส่งกลับไปให้ ครม.พิจารณาอีกครา ซึ่งไม่มีใครสามารถทราบล่วงหน้าได้ว่าเมื่อร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่ง ที่ผ่านการปรับปรุงใหม่อีกรอบ เมื่อนำเข้าสู่ที่ประชุม ครม.จะผ่านหรือจะแป๊กอีกหน

ขณะที่กลุ่มต่อต้านค้าปลีกต่างชาติที่รวมตัวกันในนามสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกข้ามชาติ
ดูเหมือนขีดความอดทนค่อนข้างลดน้อยถอยลงตามลำดับ ยิ่งกฎหมายฉบับนี้ยืดเยื้อออกไปเท่าไรก็ยิ่ง
ไม่มีความพึงพอใจ โดยพันธุ์เทพ สุลีสถิร ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่ม ประกาศกร้าวหากข้อเสนอของกลุ่มไม่ได้รับการตอบสนอง และครม.ไม่ผ่านร่างอีก จะเดินหน้าสู้บนเวทีกฎษฎีกา และ สนช. อย่างไรก็ตาม ยิ่งกฎหมายฉบับนี้ยืดเยื้อออกไปนานเท่าไร ร้านค้าปลีกสายพันธุ์ไทยซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกิจการขนาดเล็ก ยิ่งตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก และถึงจะผ่าน ครม.แล้วก็ตาม ยังต้องฝ่าด่าน สนช. จึงจะมีผลบังคับใช้
กว่าจะถึงวันนั้นไม่รู้จะมีค้าปลีกไทยหรือร้านโชวห่วยหลงเหลืออยู่จำนวนเท่าไร

สำหรับปัญหาค้าปลีกข้ามชาติรุกไล่กลืนกินค้าปลีกไทยนี้หากรัฐบาลมีความจริงใจที่จะช่วยค้าปลีกไทยให้อยู่รอด นอกจากจะรีบเร่งเข็น พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่ง ให้ออกมาโดยเร็วแล้ว อีกทางหนึ่งจัดตั้งองค์กรที่จะมาทำหน้าที่จัดซื้อจัดหาสินค้าราคาต่ำมาบริการให้กับร้านค้าปลีกของคนไทย เพื่อจะได้แข่งขันกับค้าปลีกสมัยใหม่ของทุนข้ามชาติได้ ในรูปแบบของร้านค้าปลีกแบบพอเพียง

โดยองค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาต้องว่าจ้างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ในธุรกิจค้าปลีกเข้ามานั่งบริหาร
พร้อมกันนี้จะต้องดึงซัพพลายเออร์รายใหญ่ๆ เช่น เครือสหพัฒน์ ยูนิลีเวอร์ พีแอนด์จี และคาโอ เข้ามาให้การสนับสนุนองค์กรที่กล่าวมา

แม้ที่ผ่านมารัฐบาลชุดก่อนจะตั้งองค์กรที่ชื่อเออาร์ที ขึ้นมาช่วยค้าปลีกไทย และใช้งบประมาณไปแล้วร่วมๆ 1,000 ล้านบาท แต่ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ส่วนหนึ่งกูรูในวงการตลาดให้ความเห็นว่ารัฐต้องอัดเม็ดเงินลงมามากกว่านั้นอีกสัก 4-5 เท่าตัว จะได้จ้างมืออาชีพที่เก่งๆ เข้ามาบริหาร

ที่สำคัญถ้าซัพพลายเออร์เข้ามาร่วมโครงการ ต้องบริหารทุกรายมีความเสมอภาคกัน ไม่ใช่น้ำหนักกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งมากไป ก็จะไม่เกิดผล
ที่มา จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2210 19 เม.ย. - 21 เม.ย. 2550

เทสโก้โลตัสผุดสาขาคอมมูนิตี้มอลล์ รุกแหล่งที่อยู่อาศัยประเดิม5-8แห่ง


นางวีณา อรัญญเกษม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารพื้นที่เช่าและสื่อโฆษณา บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ผู้บริหารร้านค้าปลีก "เทสโก้ โลตัส" เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้ขยายการลงทุนสาขาในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า คอมมูนิตี้ มอลล์ ซึ่งมีขนาดพื้นที่กว่า 2,000 ตร.ม. ประกอบด้วย พื้นที่ของโลตัส เอ็กซ์เพรส หรือตลาดสดโลตัส และพื้นที่ร้านค้าเช่า อาทิ ร้านอาหาร ธนาคาร และร้านหนังสือ เป็นต้น โดยวางแนวคิดตามกลุ่มเป้าหมายและทำเลที่ตั้งไว้ 3 กลุ่ม ได้แก่ เดอะ โอเอซิส สำหรับกลุ่มลูกค้าในย่านกำลังซื้อสูง เดอะ พาร์ค สำหรับกลุ่มลูกค้าระดับกลางขึ้นไป และเดอะ การ์เด้น สำหรับกลุ่มลูกค้าโดยทั่วไป ทั้งนี้ ได้ทดลองเปิดแห่งแรกในแนวคิดและใช้ชื่อว่า เดอะ โอเอซิส ที่หมู่บ้านนิชดาธานี ถนนสามัคคี จ.นนทบุรี และจะเปิดแห่งที่ 2 ในแนวคิดและชื่อ เดอะ พาร์ค บริเวณซอยสุขุมวิท 101/1 ในเดือนก.ย.นี้


สำหรับแนวทางการขยายสาขาต่อไปนั้นกำลังอยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตจากกรมโยธาธิการและผังเมือง แต่คาดว่าจะสามารถเปิดได้ 5-8 แห่งภายในปีนี้ ซึ่งแต่ละสาขาใช้งบลงทุนประมาณ 60-80 ล้านบาท ในส่วนของการขยายสาขาในรูปแบบเดิมที่ประกอบด้วย รูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านคุ้มค่า ตลาดสดโลตัส และโลตัส เอ็กซ์เพรส นั้นบริษัทยังมีแผนขยายสาขาตามแผนลงทุนเดิมที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง แต่การหันมาขยายสาขาในรูปแบบช็อปปิ้งมอลล์ ทั้งประเภทที่เรียกว่าไลฟ์สไตล์ และคอมมูนิตี้ มอลล์ เนื่องจากเล็งเห็นว่าการขยายในรูปแบบช็อปปิ้งมอลล์มีศักยภาพสูงในตลาดประเทศไทย และจากการขยายสาขาผ่านช็อปปิ้งมอลล์ ประเภทไลฟ์สไตล์ ที่ใช้พื้นที่ประมาณ 6,000-20,000 ตร.ม. ทั้งที่ปิ่นเกล้า ย่านธนบุรี ศาลายา จ.นครปฐม นวนคร จ.ปทุมธานี และจ.กระบี่ ได้รับความนิยมจากลูกค้าในย่านดังกล่าวเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม การขยายสาขาผ่านรูปแบบช็อปปิ้งมอลล์ของเทสโก้ โลตัส เป็นไปในทิศทางแนวกับการบริหารของเทสโก้ในต่างประเทศ อาทิ เกาหลี จีน ไต้หวัน ฮังการีและสาธารณรัฐเช็ก เป็นต้น ซึ่งเป็นแนวทางในการขยายตัวของบริษัท และตั้งเป้าหมายว่าเฉพาะช็อปปิ้งมอลล์จะมีอัตราการเติบโตประมาณ 15-20% ในแง่รายได้ในทุกปีหากสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแนวโน้มธุรกิจด้านค้าปลีกในประเทศไทย มองว่าการขยายตัวของร้านค้าปลีกขนาดเล็กหรือ คอนวีเนียนสโตร์ ในเขตกรุงเทพฯ หรือเขตเมือง ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง



ที่มา : น.ส.พ. ข่าวสดรายวัน วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6320

ค้าปลีกสำคัญที่จุดเริ่มต้น


บริหารจัดการร้านค้าปลีกสำคัญที่จุดเริ่มต้น แนะใช้บริหารจัดการที่ดีอิงกลยุทธ์หลักองค์กร
ที่มา http://www.peerapong.com/ (อ.พีระพงษ์)

ค้าปลีกเป็นภาคธุรกิจที่สำคัญในปัจจุบัน อันเนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่ยังคงสร้างรายได้อย่างมากในสภาวเศรษฐกิจปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงสถานะทางเศรษฐกิจผลกระทบที่เกิดขึ้นส่วนมากจะส่งผลกับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ในขณะที่องค์กรธุรกิจเล็กๆ อย่างค้าปลีกมักไม่ได้รับผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงนี้ อันเนื่องจากขอบข่ายของการดำเนินงานที่เป็นองค์กรขนาดเล็กเป็นส่วนมาก การบริหารกิจการตลอดจนการปรับเปลี่ยนแนวทางการทำธุรกิจจึงเป็นไปได้ง่ายกว่า

พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสทีอี โซลูชั่น จำกัด กล่าวในงานสัมมนาการบริหารและวางระบบการจัดการร้านปลีก ถึงความสำคัญของการที่ภาคธุรกิจโดยเฉพาะร้านค้าปลีกต้องให้ความสำคัญกับการมีบริหารจัดการที่ดีว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก

การจัดการระบบร้านค้าปลีกที่สำคัญต้องมีการวางระบบการจัดการ ซึ่งระบบการจัดการนี้เองจะส่งผลให้พนักงานเข้าใจการทำงานของตัวเอง มีเป้าหมายในการดำเนินงานอย่างชัดเจนว่าควรเดินไปอย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวบอกให้ทราบว่าผู้ประกอบการธุรกิจจะประสบความสำเร็จในงานนั้นหรือไม่
โดยจุดประสงค์หลักของการวางระบบต้องอิงกับกลยุทธ์หลักทางธุรกิจที่ทางบริษัทวางไว้ก่อนหน้านี้ เช่น การวางตัวเป็นศูนย์กลางทางด้านเทคโนโลยีของสิงคโปร์ ด้วยนโยบายนี้ร้านขายสินค้าแบบที่บ้านเราเรียกกันว่า โชว์ห่วย จะเป็นร้านที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลในการวางระบบงานที่ทันสมัย แสดงให้เห็นการวางแผนงานที่ให้ความสำคัญกับอนาคตของการทำธุรกิจในวันข้างหน้า เช่นเดียวกับการวางระบบสาขาที่ต้องมี


การวางระบบงานที่ต้องมองการณ์ไกลอย่างเป็นรากฐานเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่ง
พีระพงษ์กล่าวว่า การวางระบบที่ดีได้ต้องเริ่มจากการต่อสู้กับตัวเองให้ได้เสียก่อนต้องค้นให้พบให้ได้ว่าระบบงานที่จะสร้างขึ้นนั้นมีข้อดีอย่างไร หากไม่เกิดประโยชน์ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไรก่อนที่จะเกิดเป็นงานจริง การทำงานที่เป็นระบบมีหลายเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกัน บางครั้งผู้ประกอบการรายเล็กก็จำเป็นต้องต่อสู้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ด้วยกลยุทธ์แบบกองโจรหลายรูปแบบ บางครั้งงานที่สำเร็จขึ้นมาได้ต้องมาจากพนักงานได้ สิ่งที่ดีเป็นการตอบแทนเมื่อเทียบกับองค์กรอื่นที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันแล้ว อาจออกมาในรูปแบบของเงินเดือนหรือสวัสดิการที่ดีกว่าร้านคู่แข่งเขาย่อมให้บริการได้ดีกว่าเช่นกัน เรื่องค่าตอบแทนจึงมีผลต่อการปฏิบัติการอยู่ไม่น้อย

การวางกลยุทธ์ที่สำคัญเป็นการวางแนวทางเพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญให้ได้ หากต้องการให้ทั่วโลกให้ความสำคัญว่าเราเป็นประเทศทางด้านไอทีเราก็ต้องมีการลงทุนทางด้านไอทีให้มากที่สุดด้วยเช่นกัน ผู้ประกอบการธุรกิจต้องมีคอนเซ็ปต์ธุรกิจให้ดีเข้ากับเป้าหมายที่วางไว้ทั้ง เพื่อให้คนที่จะนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง

บางครั้งความคิดที่ดีก็เป็นเรื่องตลกเหมือนคอนเซ็ปต์ที่แมคโดนัลด์นำขนมปังมาแบ่งครึ่งใส่เนื้อหรือหมูใครจะไปคิดว่าจะขายดีเป็นเทน้ำเทท่าได้ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ไม่มีใครเชื่อว่าทำได้ มันมีอะไรหลายอย่างที่มองไม่เห็นแต่กลายเป็นประโยชน์สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้น เช่นเดียวกับการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้หันมาบริโภคไก่แทนข้าวได้

การควบคุมการบริหารก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน การวางระบบงานก็เพื่อที่ฝ่ายบริหารจะสามารถควบคุมการบริหารกิจการนั้นได้ บางครั้งคำสั่งของเจ้านายที่บอกให้ลูกน้องทำงานให้ดีโดยไม่ให้ความกระจ่างว่างานที่ต้องทำตามความต้องการของเจ้านายเป็นอย่างไร ในที่สุดก็ไม่เกิดผลดีกับงานที่ออกมาหรือได้งานไม่มีประสิทธิภาพได้เช่นกัน เพราะคนต่างกันย่อมมีความคิดที่ต่างกันได้ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดรูปแบบที่เป็นมาตรฐานและเข้าใจได้ทุกระดับขึ้น ทั้งเจ้านายและลูกน้อง หากต้องมีการฝึกฝนด้วยในงานด้าน การปฏิบัติก็ต้องทำเพื่อได้งานบริการที่มีประสิทธิภาพ

ในการบริหารกิจการร้านค้าปลีกที่ทำสำคัญคือต้องมีทีมงานบริหารกิจการร้านค้าปลีกโดยเฉพาะซึ่งไม่ใช่ทีมที่ดูแลกิจการใหญ่ของบริษัทในเครือด้วย ทั้งนี้ เพราะจะทำให้เกิดการเปรียบเทียบระหว่างผลประกอบการของธุรกิจค้าปลีกกับกิจการประเภทอื่นที่มีมูลค่ามากกว่าทั้งที่นำมาเทียบกันไม่ได้เหมือนมวยที่ชกกันคนละรุ่นเกี่ยวกับเรื่องนี้ผู้ลงทุนต้องเข้าใจให้ดี

การสร้างชื่อเสียงให้กับร้านได้เป็นอย่างดีก็เป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การสร้างอิมเมจให้กับยี่ห้อสินค้าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้สินค้าหรือร้านค้าปลีกนั้นอยู่รอด หากเป็นร้านค้าปลีกที่มีอยู่ร้านเดียวก็ไม่เป็นไร แต่หากมีหลายสาขาการแพร่กระจายของสาขาเพื่อให้เป็นที่รู้จักโดยเร็วเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งหากต้องการสร้างเครือข่ายการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด


เรียบเรียงจาก :ผู้จัดการ

บททบทวน ธุรกิจค้าปลีก


บัญญัติ 15 ประการในการพัฒนาร้านค้าปลีก

1.เริ่มต้นที่ทัศนคติ ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) หรือร้านโชว์ห่วย เป็นร้านจำหน่ายสินค้า อุปโภค-บริโภคที่เป็นรูปแบบเก่า การจัดวางสินค้าไม่เป็นระเบียบ ไม่มีการติดป้ายราคา ส่วนใหญ่เป็นร้านห้องแถวที่มีพื้นที่ไม่มากนัก การจัดการเป็นแบบครอบครัว ไม่มีการทำบัญชีอย่างเป็นระบบ ไม่ได้ใช้ความรู้ในเรื่องการจัดเรียงสินค้าและการบริหารสต๊อกเท่าที่ควร ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้อยู่อาศัยในละแวกใกล้เคียง มีการประมาณการกันว่าร้านค้าประเภทนี้มีอยู่ประมาณ 2 แสนร้านค้าทั่วประเทศ จากงานวิจัยของสถาบัน SMEs เครือข่ายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ก.ค.45) พบว่ากว่า 60 % ร้านค้าแบบดั้งเดิมเป็นกิจการที่มีอายุกว่า 12 ปี รองลงมาคือ ช่วงอายุกิจการ 4 – 7 ปี จำนวน 27 % โดยพบว่ากลุ่มนี้ ก่อนหน้าที่จะมีการเปิดกิจการร้านค้าปลีก ได้ทำอาชีพอื่นมาก่อน และส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานบริษัท และข้าราชการและมีความต้องการมีจะมีธุรกิจหรือกิจการส่วนตัว เมื่อพิจารณาเรื่องสาเหตุที่เปิดกิจการ และสนใจธุรกิจนี้ จำนวน 58 % เป็นกิจการที่รับช่วงต่อจากคนรุ่นก่อน จำนวน 38 % ต้องการมีธุรกิจส่วนตัวเป็นของตนเอง เนื่องจากมีความเข้าใจว่าเป็นกิจการที่ทำได้ง่ายกว่าธุรกิจอื่น ไม่ต้องมีความรู้ก็สามารถทำได้ และอีก 4 % พบว่าสาเหตุที่เปิดกิจการเพราะว่างงาน หรือต้องการหารายได้เสริม จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นว่า เจ้าของร้านส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ผิดต่อ การทำธุรกิจและการสืบทอดกิจการจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ทำให้ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเพื่อมุ่งหวังที่จะแข่งขันในตลาดแต่อย่างใด ทำให้ร้านค้าปลีกดั้งเดิม มีรูปแบบการบริการที่ยังคงสภาพเหมือนในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ขาดการพัฒนาให้ทันสมัย ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้น การบริหารงานที่มีรูปแบบล้าสมัย ไม่ทันต่อความต้องการของลูกค้า จึงเป็นปัญหาทีผู้ประกอบการต้องนำมาทบทวน และหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข โดยเปลี่ยนแปลงทัศนคติการประกอบการร้านโชว์ห่วย ในอดีตที่จัดร้านแบบอุดอู้ไม่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้หยิบ หรือเลือกซื้อเอง มาเป็นร้านค้าแนวใหม่ที่มีการบริหารอย่างทันสมัย มีสินค้าให้เลือกซื้อหลายชนิด

2.ผู้บริโภคเลือกอย่างไร ในปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของคนในประเทศได้เน้นความสะดวกรวดเร็วและทันสมัยมากขึ้นและขนาดของครอบครัวที่เปลี่ยนมาเป็นขนาดเล็ก จึงทำให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป นิยมซื้อสินค้าที่ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่แทนการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกใกล้บ้าน เนื่องจากร้านค้าปลีกใกล้บ้านไม่สามารถตอบสนองความต้องการในเรื่องการซื้อสินค้าได้

3.จุดเด่นของ “โชว์ห่วย” สถิติการขอยกเลิกทะเบียนการค้าของร้านค้าปลีกที่ฝ่ายข้อมูลสถิติ กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ ได้รวบรวมไว้ว่าในปี 2543 ถึงปี 2544 (ถึงเดือนกันยายน) มีจำนวนถึง 14,352 ร้าน ด้วยเหตุผลหลักที่ว่า ไม่สามารถปรับตัวหรือพัฒนาการบริหารเพื่อเผชิญกับการแข่งขันในตลาดได้ ผู้บริโภคตัดสินใจมาซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่มากขึ้น เนื่องจากมีรูแบบที่ทันสมัย สะดวกสบาย สามารถเลือกซื้อของเองได้ มีสินค้าหลายประเภท ที่สำคัญคือมีการเปิดบริการทุกจุด ในขณะที่ “โชว์ห่วย” ยังไม่มีการพัฒนากิจการของตัวเองให้ทันสมัย จนทำให้ส่วนแบ่งการตลาดลดลงตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากการสำรวจด้านการตลาด พบว่าสินค้าบางประเภทสามารถขายได้ดีในร้านโชว์ห่วย เช่น เครื่องดื่มบำรุงกำลัง น้ำแข็ง น้ำอัดลม และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการบริโภคทันที และไม่ต้องใช้เวลาในการเดินทาง หรือมีความยุ่งยากในการซื้อหา นอกจากนั้น ยังมีสินค้าที่ต้องการในเวลาจำหน่ายเช่น เครื่องปรุงอาหารในครัว เครื่องใช้ส่วนตัวที่หมดแล้ว แต่ไม่ได้มีการซื้อเตรียมไว้ก่อน ก็ต้องพึ่งพาร้านโชว์ห่วย เพื่อซื้อสินค้าเหล่านั้นใช้ให้ทันกับความต้องการ ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถประกอบอาหารต่อไปได้ หรือต้องเดินทางไปไกลเพื่อจะซื้อแต่ก็ไม่คุ้มกับราคาสินค้าที่ถูก เพียงแต่ร้านโชว์ห่วยเหล่านี้ ต้องปรับปรุงและพัฒนากิจการของตนให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า การจัดหาสินค้าที่หลากหลาย มีความต่อเนื่องในการหาสินค้าเข้าร้าน ก็จะทำให้ โชว์ห่วยมียอดขายที่เพิ่มขึ้น ไม่ต้องปิดกิจการลงจำนวนมากเหมือนเช่นทุกวันนี้ เพราะร้านโชว์ห่วยเองมีลักษณะเฉพาะ ในเรื่องของความสะดวก ใกล้บ้านพัก คุ้นเคยกับเจ้าของร้าน การคงเอกลักษณ์ของ โชว์ห่วย ในเรื่องการให้บริการในฐานะเพื่อนบ้าน จึงเป็นจุดสำคัญที่ลูกค้าส่วนใหญ่ยังคงซื้อสินค้าจากร้านประเภทนี้อยู่อย่างต่อเนื่อง

4.ผู้ประกอบการต้องปรับตัว ผู้บริโภคในปัจจุบันนิยมเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก ความหลากหลายของสินค้าและมีรูปแบบความบันเทิงอื่นๆ อยู่ภายใน ส่งผลกระทบต่อร้านค้าขนาดเล็ก โดยเฉพาะร้านโชว์ห่วยอย่างรุนแรง ร้านค้าเหล่านี้จำนวนมากต้องปิดกิจการลง ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งยังคงเปิดดำเนินการและพบว่ายอดขายลดลง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ร้าน โชว์ห่วยอยู่รอดต่อไปได้นั้น คือตัวผู้ประกอบการเอง การเข้าใจสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปและรู้จักปรับตัวเพื่อแข่งขัน คือคุณสมบัติที่สำคัญ แนวทางที่เจ้าของร้านโชว์ห่วยทำได้ขั้นต้นคือ เร่งปรับตัวโดยลดจุดด้อย เพิ่มจุดแข็ง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญก่อนจะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ ยกตัวอย่างเช่น ต้องมีความพร้อมทั้งในด้านการจัดตกแต่งร้านให้มีความสะอาด สวยงาม จัดหมวดหมู่สินค้าให้เป็นสัดส่วน หรือสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อดึงดูดลูกค้า และรองรับความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย นอกจากนี้ ในด้านของการบริการ สิ่งหนึ่งที่เป็นเสน่ห์ของร้านโชว์ห่วย ที่มีมานานแล้วก็คือ อัธยาศัยไมตรี ที่ดีของเจ้าของร้านกับคนในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความได้เปรียบสำคัญ ที่จะช่วยยึดเหนี่ยวลูกค้า ให้มีความประทับใจต่อร้านโชว์ห่วย ส่วนในด้านราคา แม้ว่าร้านโชว์ห่วยจะมีต้นทุนในการซื้อสินค้าต่อหน่วยสูงกว่าร้านค้าปลีกสมัยใหม่ แต่ร้านโชว์ห่วยยังมีความได้เปรียบในส่วนของต้นทุนการดำเนินการที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับร้านค้าขนาดใหญ่ เพราะว่าไม่มีงบโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือการลงทุน ทั้งจากในเรื่องค่าขนส่ง ทำให้โอกาสที่จะแข่งขันในด้านราคายังมีความเป็นไปได้ นอกจากนี้ การเลือกใช้ช่องทางการซื้อสินค้าที่มีอยู่หลากหลายในปัจจุบัน ก็เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการจัดหาสินค้าที่มีต้นทุนถูกลง และเสริมสร้างความได้เปรียบด้านราคาได้ อีกด้านหนึ่งที่สำคัญในการช่วยให้ร้านโชว์ห่วยอยู่รอดได้ก็คือ การจัดการและบริหารงานในเรื่องระบบบัญชี แบบง่ายๆ สามารถทำเป็นรายรับ รายจ่าย เช็คยอดสินค้า เข้า และ ออก เพื่อรู้จำนวนที่แน่นอน และติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวทางธุรกิจต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อทันต่อความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค เมื่อผู้ประกอบการร้านค้าปลีก ทำการปรับปรุงร้านค้าของตัวเองแล้ว มาตรการต่างๆ ของรัฐที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้าปลีกรายย่อย โดยเปรียบเสมือนพี่เลี้ยงที่ประคับประคองผู้ประกอบการให้มีความอยู่รอด โดยจัดอบรมให้ความรู้ ฝึกทักษะในการบริหารงานร้านค้า และจัดให้มีศูนย์รวมซื้อและกระจายสินค้า ยกตัวอย่างบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง

5.เรียนรู้กลยุทธ์ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ร้านค้าสะดวกซื้อ หรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ล้วนแล้วแต่เป็นร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่เน้นบริการแก่ผู้บริโภคเป็นหลัก เปิดบริการ 24 ชม. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ซื้อที่ต้องการซื้อสินค้าเร่งด่วนหรือจำเป็น มีการขยายสาขาเพื่อให้ใกล้แหล่งชุมชนและความสะดวกของผู้บริโภค เน้นสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารด่วน และเครื่องดื่ม ตลอดจนการบริการ โดยให้ความสะดวกในการรับบริการชำระค่าสาธารณูปโภคหลายๆ อย่างไว้ในร้านเดียวกัน ทำให้ได้รับความนิยมในเวลาไม่กี่ปี ในการบริหารจัดการ การใช้ระบบแฟรนไชส์ซึ่งมีลักษณะการบริหารแบบกระจายอำนาจให้เจ้าของร้านค้า ภายใต้ลิขสิทธิ์ของเจ้าของแฟรนไชส์ มีความเหมาะสมอย่างยิ่งกับการขยายสาขา และช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองกับซัพพลายเออร์ เนื่องมาจากมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่มากกว่า นอกจากนี้ยังใช้การโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์เพียงครั้งเดียวแต่ได้ผลลัพธ์คุ้มค่า เครื่องมือที่สำคัญคือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ และการทำบัญชีบันทึกรายการเข้าออกสินค้าเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการบริหารสินค้า และการจัดทำสินค้าคงคลัง เช่นระบบ P.O.S ที่สามารถบันทึกการขายสินค้าในแต่ละครั้งได้ในทันทีโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัย ช่วยลดต้นทุนได้มาก สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นกลยุทธ์ที่ดีเยี่ยมของร้านค้าสมัยใหม่ ที่นำเอาการบริหารการจัดการ การตลาดและการโฆษณา มาใช้ร่วมกัน ดังนั้น ร้านค้าปลีกหรือร้านโชว์ห่วย ต้องตามให้ทันวิวัฒนาการของการค้าสมัยใหม่ และไม่หยุดนิ่ง ที่จะค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาร้านค้าของตนให้มีมาตรฐาน
6.เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง “การเริ่มต้นที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” หลายๆท่านคงเคยได้ยินประโยคนี้ การทำธุรกิจก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใด ย่อมต้องมีการเริ่มต้นที่ดี สำหรับร้านค้าปลีกแล้วการเลือกทำเลที่ตั้งคือการเริ่มต้นที่สำคัญ เนื่องจากสินค้าหลักของร้านค้าปลีกคือของใช้ในชีวิตประจำวัน ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมของร้านค้าปลีกจึงควรตั้งอยู่ในชุมชนหรือสถานที่มีผู้คนผ่านไปมา เพื่อที่จะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ถ้าที่ร้านค้าปลีกของเราได้ทำเลที่ตั้งที่ดีแล้ว ก็จะต้องพิจารณาด้วยว่าบริเวณใกล้เคียงมีร้านค้าปลีกอื่นที่ขายสินค้าใกล้เคียงกันหรือไม่ มากน้อยเท่าใด มีการตกแต่งอย่างไร และควรจะมีการสำรวจการตั้งราคาสินค้าของร้านค้าปลีกใกล้เคียงด้วย นอกจากนี้แล้ว เรายังต้องพิจารณาถึงกลุ่มผู้บริโภคบริเวณนั้นด้วยว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มใด เช่น ถ้าเป็นกลุ่มแม่บ้าน เราต้องหาสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันมาขายเป็นหลัก หรือถ้าเป็นกลุ่มที่สนใจเรื่องสุขภาพ เราก็ควรหาสินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเข้ามาวางขาย เป็นต้น เมื่อเราสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ร้านค้าปลีกของเราก็จะมีลูกค้าประจำ ซึ่งทำให้มีรายได้ที่ต่อเนื่องและสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ การเดินทางเพื่อซื้อสินค้าของผู้บริโภคก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ เพราะผู้บริโภคส่วนมากคำนึงถึงความสะดวกในการเดินทางเป็นหลัก เช่น ถ้าหากร้านค้ามีลักษณะเป็นร้านขายส่ง หรือมีขนาดใหญ่ และลูกค้าไม่ได้รับความสะดวกในการมใช้รถยนต์ เนื่องจากสภาพถนนบริเวณหน้าร้านมีการทำถนน ขุด เจาะ หรือไม่มีที่จอดรถไว้บริการ ลูกค้าก็จะหันไปซื้อจากร้านอื่นที่สะดวกกว่า เช่นเดียวกันกับกรณีที่มีการวางสินค้าเกะกะ มีทางเท้าแคบ หรือมีร้านหาบเร่แผงลอยบังหน้าร้าน ก็จะทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความสะดวกและไม่อยากมาซื้อสินค้าที่ร้านเช่นเดียวกัน ผู้ประกอบการท่านเดิมที่ต้องการเปิดร้านใหม่ หรือขยายสาขาเพิ่ม จึงควรที่จะคำนึงถึงทำเลที่ตั้งเป็นอันดับต้นๆ อย่างไรก็ตาม ทำเลหรือที่ตั้งไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของธุรกิจ เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นๆที่สำคัญ เช่น การตกแต่งร้านค้าให้น่าสนใจ หรือหาสินค้าที่มีความแปลกใหม่มาดึงดูดลูกค้า และที่สำคัญคือการบริการที่ดี และความสุภาพของพนักงานในร้าน
7.หลัก 5 ประการที่ร้านค้าปลีกควรใส่ใจ การประกอบธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และควรเริ่มทำความเข้าใจ ศึกษาถึงความต้องการของผู้บริโภค แล้วนำมาปรับปรุงการบริหารร้านของตนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
1.การเสนอสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด
2.การให้บริการที่เป็นมิตรหรือเป็นกันเอง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
3.การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการสั่งซื้อ สต็อกคงเหลือ บัญชีรับจ่าย รายวัน
4.การตกแต่งร้าน การจัดเรียงสินค้าอย่างเป็นหมวดหมู่ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการ
5.การส่งเสริมการขาย ควรจัดให้มีบ้างตามโอกาสที่เหมาะสม เพื่อตอบแทนลูกค้าที่มาใช้บริการ ซึ่งจะเป็นการรักษาลูกค้าได้อีกทางหนึ่ง
8.คัดเลือกสินค้าอย่างไรให้ตรงใจผู้บริโภค 1.ความต้องการของผู้บริโภค โดยการคำนึงถึงกลุ่มผู้บริโภคว่าเป็นกลุ่มใดเพื่อที่จะได้รู้ ถึงจะได้ตอบสนองความต้องการได้ถูกต้อง 2.เลือกสินค้าที่หลากหลายยี่ห้อ กลิ่น สี รส ในตัวสินค้าประเภทเดียวกัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกยี่ห้อ สินค้านั้นควรเป็นสินค้าที่ขายดีหรือกำลังเป็นที่นิยม และควรหมั่นดูความเคลื่อนไหวของสินค้าตัวใดขายไม่ดีเมื่อหมดแล้ว ก็ไม่ควรนำมาจำหน่ายอีก และควรหาสินค้าใหม่ๆหมุนเวียนเข้ามาขายแทน เพื่อที่จะได้บริหารพื้นที่ขายให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3.กำหนดราคาขาย ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า และควรสังเกตการตั้งราคาขายของร้านค้าบริเวณใกล้เคียง หรืออาจตั้งราคาขายที่ใกล้เคียงกับร้านค้าขนาดใหญ่ อาจเท่าหรือสูงกว่าเล็กน้อย และควรตั้งราคาให้สมเหตุผล ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ถ้าร้านค้าปลีกทำการบริหารสินค้าได้ดี และจำหน่ายสินค้าได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคแล้ว จะทำให้เกิดการหมุนเวียนสินค้าอย่างรวดเร็ว รวมทั้งลูกค้าก็จะได้สินค้าที่ใหม่และมีคุณภาพอยู่เสมอ
9.ค้าปลีกยุคใหม่ใส่ใจบริการ “การแข่งขัน” ของร้านค้าปลีกคือการแข่งขันเพื่อให้ลูกค้ามาใช้บริการของตนให้มาที่สุด ความหลากหลาย หรือราคาสินค้าในร้าน อาจถือได้ว่าเป็นการแข่งขันเบื้องต้นเท่านั้น แต่ในระยะยาวแล้ว การที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจและเกิดการกลับมาซื้อหรือใช้บริการซ้ำอีกนั้น เป็นสิ่งที่ร้านค้าไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่ต้องให้ความสำคัญ “ความต้องการของลูกค้า” คือสิ่งสำคัญที่ร้านค้าไม่ควรละเลย การใช้กลยุทธ์หรือกลวิธีต่าง ๆ อาจทำให้ประสบผลสำเร็จในระยะสั้นเท่านั้น แต่การให้ความสำคัญกับลูกค้าโดยการเสนอสิ่งใหม่ๆ บริการที่ประทับใจ เป็นกันเอง มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ยินดีรับฟังคำตำหนิ ซึ่งเปรียบเหมือนกระจกเงาที่สะท้อนความรู้สึกของลูกค้าได้เป็นอย่างดี เมื่อมีคำวิพากย์วิจารณ์ เราควรที่จะรับทราบและแก้ไขข้อบกพร่องนั้น ๆ “บุคลากร” ของร้านเป็นสิ่งสำคัญที่จะสะท้อนถึงคุณภาพการบริการ ของแต่ละร้าน ดังนั้นเราจึงควรสร้างบรรยากาศในการทำงานให้บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่อการบริการและการขายสินค้า ให้ความรู้ด้านการปฏิบัติงาน เพื่อให้บุคลากรทำงานด้วยความเต็มใจส่งผลให้ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีและอยากเข้ามาซื้อสินค้าตามไปด้วย เมื่อมีความสุขกับการทำงานและองค์กรแล้ว เงินก็จะเป็นปัจจัยรอง แต่เมื่อไรที่เริ่มรู้สึกไม่สนุกกับการทำงานมีทุกข์ เงินก็จะกลายเป็นปัจจัยหลัก
10. ค้าปลีกยุคใหม่ต้องจัดทำบัญชี ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่เราเห็นส่วนมา มักไม่มีการบันทึกสินค้าเข้าออก และยอดขายในแต่ละวัน การทำบัญชีนั้นจัดได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในธุรกิจค้าปลีก เนื่องจากเราต้องรู้ว่ามีกำไรหรือขาดทุนในแต่ละวัน / เดือน เท่าไร สินค้าชนิดใดขายดี ขายไม่ดี ข้อมูลที่ได้จะสมารถนำมาใช้ในการตัดสินใจเพื่อการลงทุนหรือขยายกิจการในอนาคต การบันทึกข้อมูลที่เป็นระบบจะทำให้การบริหารงานง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพ กล่าวโดยสรุปร้านค้าควรบันทึกข้อมูลทุกอย่าง และนำตัวเลขที่ได้มาคำนวณเป็นรายรับ รายจ่าย ของแต่ละวัน หรือแต่ละเดือน นอกจากเราจะรู้ต้นทุน กำไรแล้วนั้น เราสามารถนำข้อมูลที่ได้มาบริหารสินค้าเข้าร้านได้ด้วยการวิเคราะห์ ว่าสินค้าใดขายดี และสินค้าใดขายไม่ดี เทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามามีบทบาทกับชีวิตเราอย่างมาก ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ และร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่ได้นำสิ่งเหล่านี้มาใช้ ในการบริหารทางด้านบัญชี เพื่อลดต้นทุนทางการตลาด โดยนำคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ในการทำบัญชีและการบริหารสินค้า ทำให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ร้านค้าปลีกขนาดเล็กก็ควรนำข้อดีดังกล่าวมาใช้พัฒนาธุรกิจของตน เพื่อให้ทัดเทียมกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ
11.การจัดร้านอย่างไรให้น่าเข้า และน่าซื้อ ถ้านึกถึง ร้านโชว์ห่วย หลายคนคงนึกถึงร้านค้าที่มีสินค้าวางเต็มร้านจนไม่มีทางเดินเข้า ออก หรือเลือกซื้อสินค้าไม่สะดวก สิ่งเหล่านี้ต้องปรับปรุง การจัดตกแต่งร้าน นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาร้านค้า เนื่องจากสิ่งที่ลูกค้าสามารถมองเห็นได้ก่อนสิ่งอื่นคือ การจัดแสดงสินค้าในตู้กระจกหน้าร้านและทางเข้า จะเห็นได้ว่า ถ้าสิ่งเหล่านี้มีการออกแบบที่ดีและน่าสนใจ ก็สามารถจูงใจลูกค้าเข้าร้านได้ ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการเลือกซื้อสินค้าจากร้านที่เป็นระเบียบ และสามารถเลือกได้เอง
1.การจัดผังร้านที่ดี จะครอบคลุมพื้นที่ภายในร้านทั้งหมด การวางผังสินค้าในร้านให้เหมาะสม เพื่อให้ลูกค้าเดินไปยังจุดที่เราต้องการให้ลูกค้าเดินดูสินค้าได้ทั่วถึง แสงสว่างต้องเพียงพอ อากาศปลอดโปร่ง ไม่มีมุมอับ เพื่อให้ร้านดูน่าเข้า และร้านค้าเองจะได้ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2.การจัดเรียงสินค้าให้ต่อเนื่อง สินค้าที่สัมพันธ์กันให้อยู่บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกัน จะเพิ่มความสะดวกสบาย เช่น แชมพู สบู่ ยาสีฟัน สินค้าบางอย่างลูกค้าไม่ตั้งใจซื้อหรือไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า เช่น ลูกอม กระดาษทิชชู หมากฝรั่ง เหล่านี้ควรจัดวางไว้ในที่เห็นได้ชัด ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อโดยฉับพลัน
12.บริหารพื้นที่ขายอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด การบริหารพื้นที่ขายเป็นกลยุทธ์หนึ่งสำหรับร้านค้าปลีก ที่ควรนำมาใช้เพื่อจัดสรรพื้นที่สำหรับสินค้าที่มีระดับการหมุนเวียนและผลกำไรต่างกัน รวมทั้งคำนึงถึงสัดส่วนและทิศทางเดินของลูกค้าที่เหมาะสม ลูกค้าส่วนใหญ่จะเดินวนตามเข็มนาฬิกา การกำหนดพื้นที่ของร้าน เป็นการจัดสรรพื้นที่ แบ่งเป็นทางเดิน ชั้นวางสินค้า เคาน์เตอร์แคชเชียร์ หรือแม้กระทั่งตู้แช่สินค้า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด การวางผังร้าน เป็นการกำหนดทิศทางเดินของลูกค้า นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ลูกค้าเห็นสินค้าทั้งหมด สามารถเลือกสินค้าได้ง่าย ควรจะกำหนดทางเดินให้ลูกค้าอยู่ในร้านนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยคำนึงถึงความสะดวกของลูกค้าเป็นหลัก การจัดเรียงสินค้าที่เป็นหมวดหมู่ การออกแบบและการตกแต่งภายในร้าน เป็นเทคนิคที่สำคัญที่ทำให้ลูกค้าอยากเข้าร้าน โดยการตกแต่งร้านตามเทศกาลต่าง ๆ การติดป้ายประดับ เพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ
13.ค้าปลีกยุคใหม่ต้องเข้าใจการส่งเสริมการขาย การส่งเสริมการขาย จัดได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ที่นำมาใช้เพื่อจูงใจผู้บริโภค การส่งเสริมการขาย หรือ Sale Promotion เป็นเครื่องมือที่กระตุ้นความต้องการซื้อ โดยปกติแล้วจัดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว ดังนั้นร้าค้าปลีกขนาดกลางและขนาดย่อมจะยืนอยู่ได้จะต้องมีการจัดการส่งเสริมการขายด้วยเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการและจูงใจลูกค้าให้มาใช้บริการ สิ่งแรกของการส่งเสริมการขายคือ การวิเคราะห์ทางด้านการตลาด คือ การรวบรวมความต้องการของลูกค้าและแนวโน้มพฤติกรรมของลูกค้าในอนาคตว่าต้องการอะไร การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ คือ การศึกษาคุณลักษณะความคงทนของสินค้า การวิเคราะห์คู่แข่งขันและสิ่งแวดล้อม คือ การวิเคราะห์ปัจจัยทั่วไปที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายสินค้าของเรา เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้วนำมาวิเคราะห์และจัดทำการส่งเสริมการขาย เช่น การลดราคา แถมสินค้า หรือการแลกซื้อ ในบางครั้งเราอาจเห็นว่าการส่งเสริมการขายจะทำให้มีกำไรลดลง หรือต้นทุนที่สูงขึ้น แต่เมื่อพิจารณายอดขายที่เพิ่มขึ้นแล้ว อาจทำให้มีกำไรเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมเสียอีก
14.สร้างความแตกต่างด้วยสินค้า
“หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” หรือ “One Tambon One Product (OTOP)” เพื่อเป็นการสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นและสร้างชุมนที่เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติที่เรารู้จักกันดีในนาม “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” มาสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเด่นเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ร้านค้าปลีกชุมชนคือช่องทางการกระจายสินค้าให้ไปถึงมือผู้บริโภคโดยตรง และเป็นช่องทางการตลาดที่กว้าง สำหรับรองรับสินค้าจาก OTOP มีการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนสินค้าในแต่ละภูมิภาค ก็จะทำให้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในประเทศ ชุมชนมีงานทำ คนในท้องถิ่นจะได้ไม่ต้องออกไปหางานทำยังต่างถิ่น
15.กล้าคิดกล้าทำ ร้านค้าปลีกปัจจุบันต้องมีการปรับตัวอย่างทันสมัย กล้าที่จะคิดเปลี่ยนแปลงและลงมือปรับปรุงร้านของตนเอง ให้ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยเก็บข้อมูล มีการศึกษาค้นคว้าไม่หยุด พัฒนาศักยภาพของตนเองตลอดเวลา จึงทำให้ร้านของเราอยู่รอดและยั่งยืนตลอดไป


ที่มา เวปไซด์ http://www.sunstore2002.com/

เทคนิคบริหารร้านค้าปลีก


เทคนิคบริหารร้านค้าปลีกอย่างมีประสิทธิภาพ

ทำอย่างไร ให้ร้านค้าปลีกของคุณแน่นขนัดไปด้วยลูกค้าที่เดินเข้ามาอุดหนุนไม่ขาดสาย นั่นคือ คำถามที่เจ้าของร้านค้าปลีกทุกรายต้องการรู้คำตอบ Business Tips มีคำตอบง่ายๆ กับ ?3 เทคนิคบริหารร้านค้าปลีกอย่างมีประสิทธิภาพ?


1. การจัดรูปแบบภายในร้านค้า

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เป็นสิ่งแรกที่ลูกค้าได้พบเมื่อเข้าร้าน หลักการง่ายๆ มีอยู่ว่าบริเวณที่ลูกค้าเดินผ่านบ่อยเรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ อยู่ระหว่างทางเข้าร้าน บริเวณสินค้าขายดี และจุดจ่ายเงิน หากสามารถเพิ่มปริมาณสินค้าบริเวณนี้ให้มาก ก็จะเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าเห็นสินค้ามากขึ้น และแน่นอนโอกาสที่จะซื้อก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน จากนั้นมาดูเรื่อง การจัดระยะห่างของชั้นเรียงสินค้าให้พอดี ระยะแคบเกินไปทำให้ดูแออัด ลูกค้ามองเห็นสินค้าไม่ครบ ส่วนกว้างเกินไปก็ทำให้ร้านโล่งดูมีของขายน้อย ขยับมาที่ ชั้นวางสินค้า ควรแบ่งกลุ่มสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน และเลือกลักษณะของชั้นวางให้เหมาะสม ในขณะที่ บรรยากาศภายในร้าน ก็ต้องสร้างบรรยากาศที่ดี ตกแต่งด้วยรูปภาพ โปสเตอร์ หรือใช้โทนสีช่วย ร้านที่ใช้โทนสีอ่อนหรือสีขาวจะดูสว่างและสะอาด แสงสว่าง ที่เพียงพอจะทำให้มองเห็นสินค้าชัดเจน? แต่ควรระวังไม่ให้แสงไฟทำให้สีของสินค้าเปลี่ยนไป และควรเลือกใช้หลอดประหยัดไฟที่ให้แสงสว่างมากกว่าในจำนวนวัตต์ที่เท่ากัน


2. การจัดซื้อสินค้าเข้าร้าน

การแบ่งประเภทสินค้าแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ สินค้าเน่าเสียง่าย สินค้าหมุนเวียนช้า และสินค้าหมุนเวียนเร็ว การเลือกสินค้าเข้าร้านต้องเลือกให้หลากหลาย เลือกยี่ห้อที่เป็นที่นิยม เลือกขนาดบรรจุเพียง 1 หรือ 2 ขนาด โดยปกติมักเป็นขนาดเล็ก เลือกสี กลิ่น หรือรส เฉพาะที่เป็นที่นิยม และเลือกโดยดูจากความต้องการของลูกค้า ส่วนแนวทางการสั่งซื้อสินค้า เจ้าของร้านต้องกำหนดระยะเวลาให้แน่นอนสม่ำเสมอ ประมาณสัปดาห์ละครั้ง และตรวจนับสินค้าคงเหลือก่อนสั่ง โดยตัดสินใจสั่งซื้อจากข้อมูลในอดีตแต่ก็ต้องหาข้อมูลใหม่ๆ ช่วยในการตัดสินใจอยู่เสมอ, สั่งซื้อตามจำนวนที่พอขายในช่วงเวลาที่กำหนด, ไม่กักตุนสินค้า เพราะนอกจากคุณภาพสินค้าลดลงแล้ว หากเก็บไม่ดีเป็นการเอาเงินไปจมไว้ ที่สำคัญบริหารสต็อกอย่าให้สินค้าขาดเพื่อไม่ให้เสียโอกาสการขาย


3. การจัดสรรพื้นที่วางสินค้า

ทำพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดเกิดประโยชน์สูงสุด โดยพิจารณาจากยอดขายและความสะดวกของลูกค้าเป็นหลัก หลักเกณฑ์ในการจัดเรียงสินค้าคือ เห็นเด่นชัด เมื่อลูกค้าเห็นสินค้า สินค้านั้นย่อมได้รับการพิจารณาเลือกซื้อ? เข้าถึงสะดวก? ถ้าลูกค้าไม่สามารถแตะหรือหยิบสินค้าได้สะดวก สินค้านั้นย่อมไม่ได้รับการเลือกซื้อ จัดเรียงน่าสนใจ การตั้งโชว์สินค้าให้ดึงดูดความสนใจ ช่วยให้ยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้น เข้าก่อนออกก่อน รักษาระดับการหมุนเวียนสต็อกให้เหมาะสม และดูแลให้สินค้าบนชั้นใหม่สดเสมอ และสะอาดน่าซื้อ สินค้าที่สะอาดทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าใหม่น่าซื้อ


ที่มา นิตยสาร SME Thailand เรื่อง : ออกัส

กลยุทธ์เพื่อความอยู่รอดของร้านค้าปลีกคนไทย


กลยุทธ์การตลาดร้านค้าปลีก

เนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้าในประเทศไทย ทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในประเทศมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ต่างต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ และต่อไปนี้คือกลยุทธ์เพื่อสร้างความอยู่รอดให้กับร้านค้าปลีกของไทย


กลยุทธ์เพื่อความอยู่รอดของร้านค้าปลีก


กลยุทธ์ด้านการเงิน
· ต้นทุนการดำเนินงาน ผู้ประกอบการต้องรู้จักการบริหารการผลิตเพื่อช่วยลดต้นทุนการเก็บสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็นไว้ในสต็อกนานเกินไป
· รายได้เสริม นอกจากการขายสินค้าภายในร้านแล้ว ในช่วงเวลาว่าง ผู้ประกอบการอาจผลิตสินค้าอื่น ๆ ออกมาจำหน่าย หรือแบ่งพื้นที่หน้าร้านให้เช่าเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับร้านค้าในอีกทางหนึ่ง
· เน้นสินค้าที่มีกำไร ผู้ประกอบการควรเน้นสินค้าที่คนส่วนใหญ่นิยมซื้อ หรือสินค้าที่ให้กำไรสูงมากเป็นพิเศษกว่าสินค้าประเภทอื่น เช่น เครื่องดื่ม เพราะเป็นสินค้าที่ดื่มกันทุกเพศ ทุกวัย เป็นต้น
· ไม่แข่งขันด้านราคา ผู้ประกอบการควรเน้นสร้างความแตกต่าง ให้สินค้ามีความแปลกใหม่ มีดีไซน์เก๋ไม่เหมือนใคร มากกว่าจะแข่งขันกันด้านราคา
· ไม่ขยายตัวด้วยเงินกู้ การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่ยากเลย ถ้ากิจการไม่มีหนี้สิน ดังนั้น ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกไม่ควรรีบร้อนขยายกิจการถ้าผู้ประกอบการยังไม่มีเงินลงทุนเพียงพอ และไม่ควรกู้เงินเพื่อนำมาขยายกิจการ


กลยุทธ์การตลาด
· Marketing Back to Basics เป็นพื้นฐานทางการตลาด เพื่อศึกษาถึงความต้องการและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลเหล่านั้นจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการได้อย่างเหมาะสม
· การปรับ layout เป็นการจัดรูปแบบร้านใหม่ โดยให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการเลือกซื้อเลือกหยิบสินค้าด้วยตนเอง หรือที่เรียกว่าการบริการด้วยตัวเอง (Self Service)
· ถ้ามีคู่แข่งต่างชาติ ให้เลือกทำเลรอง 2nd. Location ผู้ประกอบการควรเลือกทำเลในพื้นที่ชั้น 2 หรือทำเลรอง เพราะพื้นที่ชั้น 1 หรือทำเลหลักจะมีคู่แข่งขันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคู่แข่งต่างชาติ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรเลือกทำเลรองลงไป แต่ยังมีศักยภาพพอสมควร
· Originality คือ ความพิเศษของตัวสินค้าที่มีเฉพาะร้านเท่านั้น
· กุมหัวใจลูกค้าเดิม เป็นการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเดิมไว้ เพราะการรักษาลูกค้าเดิมจะง่ายและใช้ต้นทุนน้อยกว่าการแสวงหาลูกค้าใหม่


กลยุทธ์การบริหาร
· ขายนอกร้าน เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการมีช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น และนั่นหมายถึง รายได้ที่เพิ่มขึ้นด้วย เช่น ร้าน S&P ไม่ได้ขายของหวานเฉพาะในร้านเท่านั้น แต่ขนมของ S&P ยังถูกวางจำหน่ายตามร้านจิฟฟี่ในปั๊มน้ำมัน JET และห้างสรรพสินค้าต่างๆ อีกด้วย
· Non - Store เป็นการขายตรงแบบไม่มีร้านค้า เพื่อกระจายช่องทางการจำหน่ายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว และตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เช่น ศิริวัฒน์แซนด์วิช เป็นต้น
· Franchising ถ้าหากกิจการยังไม่ประสบความสำเร็จ กิจการนั้นคงไม่เหมาะสมที่จะทำแฟรนไชส์ เพราะแฟรนไชส์เป็นกลยุทธ์สำหรับธุรกิจที่มีความสำเร็จ แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์และกำลังคนในการขยายงาน
· หาพันธมิตร เป็นการร่วมมือกันระหว่างธุรกิจที่ดำเนินกิจการในรูปแบบเดียวกัน การสร้างพันธมิตรจะทำให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จ มากกว่าการดำเนินงานแต่เพียงลำพัง


กลยุทธ์ง่าย ๆ ที่ไม่ต้องลงทุน
วิธีการข้างต้นเป็นกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปพัฒนารูปแบบการบริหารร้านค้าปลีกได้ โดยผู้ประกอบการไม่ต้องอาศัยการลงทุนเพิ่ม นอกจากนี้ ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกจำเป็นต้องติดตามความเคลื่อนไหวทางธุรกิจและเศรษฐกิจ รวมทั้งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผู้ประกอบการต้องมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย



แหล่งข้อมูล สุธี พนาวร. "กลยุทธ์การตลาดร้านค้าปลีก รุ่นที่ 1". เอกสารประกอบการอบรมของสถาบัน พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สินค้าความงาม ชูระบบแฟรนไชส์



“บิวตี้บุฟเฟ่ต์”ชูแฟรนไชส์เพิ่มสาขา

“บิวตี้บุฟเฟ่ต์” ทยอยรีโนเวตสาขา งัดกลยุทธ์เซเลบริตี้ มาร์เก็ตติ้ง-เทสโมเนียน มาร์เก็ตติ้ง สร้างแบรนด์ จัดกิจกรรมแคมปัสทัวร์-ออกบูทขยายฐาน ศึกษาระบบแฟรนไชส์ คาดดีเดย์ปีหน้า ลั่นสิ้นปีโต 20%

นายแพทย์สุวิน ไกรภูเบศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมนาโพลิแตนท์ จำกัด ผู้บริหารร้านค้าปลีกสินค้าความงามภายใต้ชื่อคอสเมด้า และบิวตี้บุฟเฟ่ต์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้บริษัท อยู่ระหว่างการทยอยรีโนเวตและปรับร้านคอสเมด้าที่เปิดให้บริการอยู่ในศูนย์การค้าต่างๆ ที่มีประมาณ 22 แห่ง ให้เป็นบิวตี้ บุฟเฟ่ต์ทั้งหมด ด้วยงบฯ 1 ล้านบาท/สาขา และตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีร้านบิวตี้บุฟเฟ่ต์จะมี 28 สาขา จากปัจจุบันที่มี 14 สาขา

ร้านที่รีโนเวตใหม่มีคอนเซ็ปต์ simply-easy-lively เพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนเดินในร้านบุฟเฟ่ต์ที่มีหลากหลายเมนู รวมทั้งเพิ่มความสะดวกสบายในการเลือกทดลองสินค้าให้กับลูกค้าซึ่งส่วนมากเป็นกลุ่มนักศึกษาและคนทำงาน โดยวาง โพซิชั่นเป็นร้านขายสินค้าความงามแบบ มัลติแบรนด์ คุณภาพเทียบเท่าเครื่องสำอางเคาน์เตอร์

พร้อมกันนี้บริษัทก็จะให้ความสำคัญในการสร้างแบรนด์บิวตี้บุฟเฟ่ต์ ด้วยกลยุทธ์ ที่เป็นการผสมผสานระหว่าง celebrity marketing และ testimonial marketing รวมทั้งการโฆษณาผ่านสื่อ โฆษณา ณ จุดขายการจัดแคมปัสทัวร์ตามมหาวิทยาลัย การออกบูทตามงานแสดงสินค้า เป็นต้น

“ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาระบบแฟรนไชส์ และคาดว่าจะเริ่มเปิดขายได้ในต้นปี 2552 และเบื้องต้นตั้งเป้าไว้ 15 แห่ง”

นายแพทย์สุวินยังให้ข้อมูลด้วยว่า แบรนด์ที่ขายในร้านจัดเป็นสินค้าเอ็กซ์คลูซีฟแบรนด์ที่ขายเฉพาะในบิวตี้บุฟเฟ่ต์ อาทิ Gino McCray, Kallista Rivini, Scentio, Lansley และ Life Spa ปีหน้ายังวางแผนเพิ่มสินค้าอีกหนึ่งแบรนด์คือ Beauty cottage สกินแคร์ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ

จากการที่ให้ผู้บริโภคระมัดระวังการจับจ่ายและหันมาหาสินค้าที่มีความคุ้มค่า คุ้มราคามากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคที่เคยใช้เครื่องสำอางแบรนด์เนมจำนวนหนึ่งสวิตช์มาที่บิวตี้บุฟเฟ่ต์ และจากแนวทางต่างๆ ที่วางไว้ มั่นใจว่าสิ้นปีนี้ จะมีการเติบโตไม่ ต่ำกว่า 20% หรือมีรายได้รวม 340 ล้านบาท

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ 11 สิงหาคม 2551

ร้านสกินแคร์ "วุฒิ-ศักดิ์" รีโนเวต-เพิ่มสาขา ขยายต่อเนื่อง



วุฒิ-ศักดิ์ อัดงบ50ล. รีโนเวต-เพิ่มสาขา เข้าตลาดฯ สิ้นปี 52

วุฒิ-ศักดิ์ คลินิก ลุยเปิดสาขาเพิ่ม 4 แห่ง เทงบ 50 ล้านบาท เร่งสร้างแบรนด์ รีโนเวต 5 สาขาใหม่ เผยผลประกอบการสิ้นปี 51 เติบโต 5% พร้อมแต่งตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ปลายปี 52 หวังระดมทุนกว่า 500 ล้านบาท

นายนิพนธ์ จึงเจริญสุขยิ่ง กรรมการบริหาร บริษัท วุฒิศักดิ์ คลินิก เวชกรรม จำกัด เปิดเผยกับ”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่กระทบกับธุรกิจ บริษัทยังเดินหน้าเปิดสาขาเพิ่มอีก 4 แห่ง ที่ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา และเชียงใหม่ จากปัจจุบันที่มีสาขาในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดรวม 52 สาขา ตั้งเป้าปีหน้าขยายครบ 70 แห่งทั่วประเทศ

“คนไข้ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าระดับกลาง-บน ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบและยังคงเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยปัจจุบันจำนวนผู้มารักษาเฉลี่ยรวมกันอยู่ที่ 3,000-4,000 คนต่อวัน ใช้บริการเฉลี่ย 800-1,000 บาทต่อคนต่อครั้ง คาดว่าปีนี้มีรายได้เติบโตอยู่ที่ประมาณ 5%” นิพนธ์ กล่าวและว่าบริษัทได้ทุ่มงบกว่า 50 ล้านบาท เพื่อรีโนเวตสาขาให้ดูทันสมัย โดยดำเนินการไปแล้ว 4 แห่ง คือ ที่เดอะมอลล์บางแค อิมพีเรียลสำโรง เซ็นทรัลพระราม 2 และฟิวเจอร์พาร์ครังสิต

นอกจากนี้ใน 1-2 ปีข้างหน้า บริษัทมีแผนจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อระดมทุนไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท หวังสร้างแบรนด์บริการอย่างครบวงจรด้านความงามแบบองค์รวม ซึ่งมองว่าที่ผ่านมายังขาดในเรื่องของศัลยกรรมความงาม ทำเลสิก และเกี่ยวกับฟัน

“ตั้งแต่ต้นปี ได้ว่าจ้างให้บริษัทตรวจสอบบัญชีที่รับรองจาก ก.ล.ต. เข้ามาตีราคาสินทรัพย์ให้ ซึ่งดำเนินการไปแล้วกว่า 90% เหลือแต่ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนให้ได้ 380 ล้านบาท จากปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 10 ล้านบาท ซึ่งถ้าเป็นไปตามแผน คาดว่าบริษัทจะสามารถเข้าตลาดฯได้ปลายปี 2552 หรือไม่เกินไตรมาสแรกของปี 2553 โดยปัจจุบันบริษัทมีทีมแพทย์และพนักงานทั้งสิ้น 1,500 คน และติด 1 ใน 3 ของตลาดเวชสำอางมูลค่า 10,000 ล้านบาทต่อปี”นายนิพนธ์กล่าว

ที่มา ฐานเศรษฐกิจ 17 กันยายน 2551